5 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณควร จ้างบริษัททำเว็บไซต์ เพื่อความอยู่รอด!

5 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณควร จ้างบริษัททำเว็บไซต์

ปี 2020 เป็นต้นไป เป็นยุคปีทองของการตลาดออนไลน์ (จริงๆ ต่างประเทศเค้าบูมมาหลายปีละ) ทำไมผมถึงแนะนำให้ จ้างบริษัททำเว็บไซต์ เรามาดูเหตุและผลแบบลึกๆ ด้วยกันครับ

ยุคนี้ โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook IG Line , มาร์เก็ตเพลสอย่าง ลาซาด้า ช็อปปี้, หรืออย่างกูเกิลเอง พยายามพลักดันธุรกิจให้ใช้ Google My Business อย่างจริงจัง และยังมีเพลตฟอร์มอื่นๆ อีกมากมาย เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จัก หรืออย่างน้อยได้ยินคุ้นหูกันบ้าง

บางคนเลือกที่จะยึดการทำตลาดบน Facebook เป็นหลัก บางคนเลือกทำบน IG และหลายๆ คนเลือกที่จะขายของบน Lazada, Shopee

คำถามคือ ทำไมต้องจ้างบริษัททำเว็บไซต์ ของตัวเองด้วยละ? ในเมื่อเพลตฟอร์มเดิมๆ ก็ยังขายได้ขายดี

5 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณควร จ้างบริษัททำเว็บไซต์

1. ค่าโฆษณาบน Facebook, Google Ads, IG แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ค่าโฆษณาบน Social แพงขึ้น | ทำไมต้อง จ้างบริษัททำเว็บไซต์ ?

เทรนต์การท่องเน็ตฯ บนมือถือมาแรงขึ้นแบบทวีคูณ ส่งผลให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ก็เปลี่ยนตามไปด้วย เวลาจะหาซื้ออะไรบางอย่าง เรามักจะเปิดเพจในเฟสฯ หรือเปิดกูเกิลค้นหาคำตอบ แล้วเทียบราคาและรายละเอียด

พอเริ่มมีคนใช้เยอะขึ้น ทางเจ้าของเพลตฟอร์มจำเป็นต้องหาแนวทาง ดึงโฆษณาที่มีคุณภาพ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทำให้เพจที่ไม่มีคุณภาพมีคนเห็นน้อยลง เราคงเคยได้ยินข่าว เฟสบุ๊คประกาศลดอัตราการมองเห็น และค่าโฆษณาก็แพงขึ้นด้วย

ฝั่ง Google Ads ก็เหมือนกันครับ พอเริ่มมีคนที่ทำธุรกิจเหมือนๆ กัน คล้ายกันมาทำโฆษณาเยอะขึ้น ทำให้มีการแข่งขันที่สูงมาก ค่าคลิก ก็จะยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ ใน Keyword ที่มีคนค้นหาเยอะ

นี่แหละคือข้อเสีย การที่เราพึ่งเพลตฟอร์มคนอื่นมากเกินไป พอถึงจุดๆ นึง เจ้าของเพลตฟอร์มก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เงื่อนไขเป็นเรื่องปกติ

เหตุผลข้อที่ 1 : ถ้าเรามีเว็บไซต์ของตัวเอง เราจะตั้งเงื่อนไขยังไงก็ได้ และที่สำคัญ ยังสามารถต่อยอดทำ Content Marketing และ SEO ได้ตามต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าโฆษณาที่แสนจะแพงขึ้นเรื่อยๆ

2. ข้อมูลกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบเหมือนจ้างทำเว็บไซต์โดยตรงเว็บไซต์

Sitemap ของเว็บไซต์ | ทำไมต้อง จ้างบริษัททำเว็บไซต์ ?

เพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรืออื่นๆ จะจัดระเบียบข้อมูลได้ยากมาก เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อให้โพสลงเรื่อยๆ ซึ่ง Content เก่าๆ ก็จะหล่นหายไปตามกาลเวลา เราจะจัดระเบียนเป็นหน้า เป็นเมนูเหมือนเว็บไซต์ได้ยาก

แต่กลับกัน ถ้าเราทำเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา เราสามารถแบ่ง Sitemap หรือจัดระเบียบเมนูได้ง่ายและอิสระ เช่น ถ้าเว็บไซต์บริษัท ก็อาจจะมีเมนู หน้าแรก, เกี่ยวกับ, สินค้า, บริการ, ติดต่อเรา

ซึ่งการจะหาข้อมูลก็จะเข้าถึงได้เร็วและง่ายขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า แค่ไปคลิกที่เมนู “สินค้า” ก็จะแสดงเฉพาะเกี่ยวกับสินค้าเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นผสม

เหตุผลข้อที่ 2 : จุดเด่นของเว็บไซต์ คือ สามารถจัดระเบียบเมนู ได้ตามต้องการ ทำให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า หาข้อมูลได้เร็วและง่ายขึ้น

3. ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทั้งในด้านข้อมูล และการออกแบบ

เพิ่มความน่าเชื่อถือ | ทำไมต้อง จ้างบริษัททำเว็บไซต์ ?

การอาศัยเพลตฟอร์มคนอื่น ทุกอย่างก็ต้องตามกฏกติกาของเค้า ทั้งในเรื่องการจัดรูปแบบข้อมูล การออกแบบต่างๆ ทำให้รูปแบบที่ออกแบบ จะเหมือนๆ กันทุกเพจ ทุกธุรกิจ ไม่มีความเป็นยูนีค หรือแตกต่างจากคู่แข่ง

อย่าง Facebook Page หากมีผู้ติดตามน้อยๆ ไม่ค่อยได้โพสเลย แถมดีไซน์แบนเนอร์ก็ไม่สวยอีกต่างหาก คงจะหาความน่าเชื่อถือได้ยากมาก ซึ่งบางธุรกิจจำเป็นต้องสร้างตัวตนให้มีความน่าเชื่อถือ ก่อนที่ลูกค้าจะเชื่อถือเรา

ลองไปดูเว็บไซต์ของแบรนด์ดังๆ สังเกตว่า แต่ละเว็บไซต์มีรูปแบบการจัดวาง Layout, เมนู, และดีไซน์ มีความเป็นยูนีค แตกต่าง ไม่เหมือนใคร เค้าแต่ละแบรนด์เค้าไปจ้างบริษัทที่รับทำเว็ไซต์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน UX/UI โดยตรง ทำให้ได้เว็บไซต์ที่สวย แต่น่าเชื่อถือ

เหตุผลข้อที่ 3 : เว็บไซต์ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้พอสมควร เพราะข้อมูลทุกอย่างมาจากเราโดยตรง และมีการออกแบบให้เข้ากับธุรกิจ มีความยูนีค ไม่เหมือนใคร

4. อยากทำ Content Marketing และ SEO เต็มตัว

Content Marketing และ SEO

การทำ Content Marketing และทำ SEO จริงๆ แล้วสามารถทำบนเพลตฟอร์มใหนก็ได้หมด บนเพจก็ทำได้ บนไอจีก็ทำได้ บนเว็บไซต์ก็ทำได้ดี

  • Content Marketing คือ การทำการตลาด ด้วยการเขียน Content ที่มีคุณค่า เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของเรา เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
  • การทำ SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้ติดหน้าแรกของ Google

อย่างถ้าทำ Content บนเพจเฟสบุ๊ค ก็ทำได้ระดับนึงครับ แต่ถ้าจะทำแบบจริงจัง ทำบทความยาวๆ มีรูปแยกคั่น มีการจัดตัวอักษรที่เฉพาะ การไฮไลค์เฉพาะจุด การกรุ๊ปหมวดหมู่ หรือแท็ก ทำไม่ได้เหมือนเว็บไซต์

ข้อดีอย่างนึงเวลาทำ Content บนเว็บไซต์คือ มันสามารถเขียนได้ยาวไม่จำกัด แทรกรูปได้อิสระ หรือจะกรุ๊ปเป็นหมวดหมู่ก็ทำได้ ทำให้เนื้อหาที่ได้ค่อนข้างดี อ่านง่าย และถ้าอ่านแล้วชอบ สามารถกดปุ่มแชร์ต่อได้เลย

และยังสามารถต่อยอดทำ SEO ได้ เพื่อให้บทความที่เราเขียน ติดอันดับหน้าแรกบน Google ด้วยนะ ด้วยเทคนิค การทำ On Page SEO

ถ้าทำเว็บไซต์ด้วย WordPress จะมีปลั๊กอินชื่อ Yoast SEO ออกแบบมาเพื่อทำ SEO โดยเฉพาะ และทราบใหมครับว่า เว็บไซต์ทั่วโลกใช้ WordPress ทำมากถึง 33% ผมถึงเชียร์ให้ใช้

เหตุผลข้อที่ 4 : หากต้องการทำ Content Marketing และ SEO ให้กับธุรกิจเต็มตัว เว็บไซต์ เป็นอะไรที่ตอบโจทย์มากๆ

5. อาศัยบ้านคนอื่น ไม่สุขใจเท่าสร้างบ้านของตัวเอง

เว็บไซต์ คือ บ้าน

เหมือนที่ผมเคยเกริ่นไว้คือ การพึ่งพาอาศัยแต่ Facebook Page, IG etc… ในการทำการตลาดออนไลน์ วันนึงเจ้าของเพลตฟอร์มปรับเปลี่ยนกฏกติกา คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ธุรกิจที่พึ่งพาแต่บ้านคนอื่น

เช่น วันก่อน Facebook ลดยอดการมองเห็น เพจที่ขายดิบขายดี ยอดขายกลับลดฮวบ จำเป็นต้องอาศัยการยิงโฆษณามากขึ้นเป็นพิเศษ

นี้แหละคือเหตุผลที่ผมเชียร์ให้สร้างบ้านของตัวเองได้แล้ว คือ เว็บไซต์

เหตุผลข้อที่ 5 : การทำเว็บไซต์ของตัวเอง เหมือนเราสร้างบ้านหลังนึงบนโลกออนไลน์ ไม่ต้องเช่าอาศัยของคนอื่น เรามีอิสระในการปรับแก้ไข ต่อยอด

สรุป

ลองหยิบ 5 ข้อที่ผมได้ชี้แนวทางให้ครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่กำลังเลว่า จะทำเว็บไซต์ หรือ จะพึ่งพาอาศัยบ้านคนอื่นต่อไป ลองไปคิดกันดูครับ

การลงทุนทำเว็บไซต์สักเว็บ มีหลายตัวเลือก

  • ทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง : ใช้งบน้อยมาก แต่ต้องศึกษาด้วยตัวเองทั้งหมด
  • จ้างบริษัททำเว็บไซต์ : ใช้งบก้อนนึง แต่คุ้ม ได้แบบเว็บไซต์ที่ชอบ
  • จ้างฟรีแลนซ์ : ราคาถูก แต่ความเสี่ยงสูงที่จะโดนเท
  • จ้างเอเจนซี่ : ราคาแพงมาก แต่งานที่ได้ก็คุณภาพสูงเช่นกัน

สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ จ้างทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

แนะนำว่า ให้ยึดช่องทางหลายๆ ช่องทางครับ มีเว็บไซต์แล้ว อาจจะทำเพจ ไอจี ด้วยก็จะดีมาก และล่าสุดที่ผมมักจะแนะนำลูกค้าให้ทำ เพราะมันมีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจยุคปัจจุบัน คือการทำ Google My Business การกระจายทำการตลาดออนไลน์หลายช่องทาง ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการยึดช่องทางใด ช่องทางนึง

About The Author