สำหรับมือใหม่ ที่พึ่งเริ่มทำเว็บไซต์ด้วย WordPress อาจจะเคยเรียนรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว แต่ในเวิร์ดเพรสมันมีการตั้งค่าพื้นฐานที่เราควรทำ หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะมาบอกให้รู้ ตั้งค่า WordPress ที่จำเป็นหลังจากติดตั้งเสร็จ
การตั้งค่าพื้นฐาน เป็นขั้นตอนที่ คนใช้เวิร์ดเพรสมือใหม่และมืออาชีพต้องทำแน่ๆ ไม่ว่าจะไปหาอ่านตามหนังสือ บทควมสอนใช้ WordPress หรือคู่มือ WordPress ทั่วไป ก็ต้องพูดถึงพื้นฐานเป็นอันดับแรก หลังจากตั้งค่าพื้นฐานกันแล้ว ถัดไป ก็จะเป็นการสร้าง Page และ Post การจัดหน้าจัดวาง Layout ให้เว็บไซต์สวยงาม สุดท้าย ก็จะเป็นพวกการตั้งค่าเสริม เช่น Security, SEO, Cache, Speed เป็นต้น
1. ตั้งค่าหน้าแรก
ครั้งแรกหลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จ ระบบจะดึง Post มาแสดงในหน้าแรก ไม่ได้ดึงจาก Page มาแสด ฉะนั้น เราต้องกำหนดว่า ให้หน้าเพจใหนเป็นหน้าแรกเวลาเข้าเว็บไซต์ครั้งแรก
จากรูปด้านบน ครั้งแรกมันเลือกที่ Your latest posts(แสดงโพสล่าสุดในหน้าแรก) ให้เลือกที่ A static page( Homepage : เลือก Page หรือหน้าสำหรับหน้าแรก, Posts page : หน้าสำหรับบทความ )
Blog pages show at most : คือจำนวนโพสที่แสดงในหน้าบทความทั้งหมด
2. ตั้งค่า Permalinks
โดยพื้นฐาน WordPress จะตั้ง URL พื้นฐานเป็น https://www.teeneeweb.com/2018/09/03/sample-post/ (มีวันเดือนปี) Permalinks คือรูปแบบ URL ของเว็บไซต์นั่นเองครับ แล้วทำไมเราต้องปรับแก้ด้วยละ! ก็เพราะมันมีผลหลายๆอย่าง โดยเฉพาะเรื่อง SEO ตามหลักแล้ว เราควรตั้งชื่อ URL ให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ยาวมาก
แนะนำ อย่ากำหนดรูปแบบ URL เป็นภาษาไทย เนื่องจากจะมีปัญหาหลายอย่างเช่น เวลาเราคัดลอกไปให้คนอื่น มันจะเป็นรูปแบบอัขระแปลกๆ
การตั้งค่าลิงค์ถาวร(Permalinks) ไปที่เมนู Settings –> Permalinks แนะนำให้เลือก Post name รูปแบบก็จะประมาณนี้ https://www.teeneeweb.com/sample-post/ จะสั้นกระชับเข้าใจง่ายกว่า
3.ตั้งค่า Site Identity
ประกอบไปด้วย Logo, Site Title, Tagline และ Favicon
– ตัว Logo หลักๆก็น่าจะแสดงกรณีในมือถือ หรือบางธีมจะใช้โลโก้ตัวนี้ไปแสดงเป็นตัวหลักไปเลย
– Site Title : เป็นคำหลักของเว็บไซต์
– Tagline : เป็นคำโปรยหรือคำอธิบาย
– Favicon : เป็น icon ที่แสดงบนแท็บของเบราเซอร์ที่มุม สังเกตจะมีไอคอนเล็กๆปรากฏอยู่
ปกติ WordPress จะไม่สร้างเมนูให้เรา ต้องไปสร้างเมนูขึ้นมาเอง แต่ไม่ต้องห่วงครับ วิธีการง่ายมากๆ โดยไปที่เมนู Appearance –> Menus :
ตั้งชื่อเมนูที่ต้องการ และกด “บันทึกเมนู”
5.ตั้งค่าวันเวลาและข้อมูลส่วนตัวของแอดมิน
ค่าตั้งค่าของเขตเวลา จะเป็น UTC+0 ให้เราแก้ไขเป็นเขตของประเทศไทย คือ คือโซน +7
ไปที่เมนู Settings –> ทั่วไป : เปลี่ยนเขตเวลาให้ถูกต้อง
6.ติดตั้ง Plugin พื้นฐานสำหรับ WordPress
มีปลั๊กอินพื้นฐานอยู่หลายตัวที่เราควรติดตั้งเลยหลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จ(จริงๆ จำเป็นต้องติดตั้งด้วยซ้ำ) เช่น ปลั๊กอินสำหรับการแบ็กอัพเว็บ, ปลั๊กอินสำหรับ SEO, ปลั๊กอินจัดการแคช(Cache), ปลั๊กอินสำหรับการแชร์, ปลั๊กอินสำหรับความปลอดภัย, ปลั๊กอินสำหรับจัดการฟอนต์ ปลั๊กอินสำหรับจัด Layout(Page Builder)เป็นต้น
ปลั๊กอินสำหรับการแบ็กอัพเว็บ : All-in-One WP Migration
เป็นหลั๊กอินสำหรับ BackUp ที่ผมคิดว่าดีที่สุดตอนนี้ โดยเฉพาะเรื่องการใช้งานที่ง่ายมาก โดยฟีเจอร์หลักๆก็มีเรื่อง Export หรือสำรองข้อมูล สามารถเลือกสำรองเฉพาะเรื่องได้หรือยกเว้นและดาว์นโหลดเก็บไว้ได้ และยังสามารถ Import หรือ Restore(กู้คืน) เว็บไซต์ที่เราสำรองเก็บไว้ กู้คืนกลับมาได้อย่างรวดเร็ว(อ่าน วิธี BackUp เว็บไซต์ ย้าย WordPress ด้วย All-In-One WP Migration)
แนะนำ ทุกครั้งหลังจากอัพเดตเว็บไซต์ ควรสำรองเว็บไซต์และโหลดเก็บไว้ลงในเครื่องเสมอ เพราะเมื่อไหร่เว็บมีปัญหา เราสามารถกู้คืนกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
ปลั๊กอินตั้งค่า SEO : Yoast SEO
SEO คือการจัดอันดับเว็บไซต์บนกูเกิล และปลั๊กอิน Yoast SEO คือปลั๊กอินสำหรับจัดการหรือตั้งค่า SEO บนเว็บไซต์ WordPress เป็นตัวที่มีคนใช้งาเยอะที่สุดก็ว่าได้ เพราะการใช้งานง่าย คุณภาพเยี่ยม และยังแนะนำเราด้วยว่าตั้งค่ายังไงก็ติดอันดับบนกูเกิลดีขึ้น จะมีสถานะเขียวแดงเหลืองบอกเราตลอดทาง ซึ่งสะดวกมากๆ
โดยปกติแล้วการตั้งค่า SEO ประกอบด้วย Page Title, Page Description, Image ALT, Focus Keyword และอื่นๆอีกหลายจุด ซึ่งปลั๊กอิน Yoast จะแนะนำให้เราว่าควรเขียนยาวแค่ใหน ต้องทำอะไรบ้างถึงจะขึ้นสถานะสีเขียว
แนะนำ ควรใส่ Keyword หลักของหน้านั้นๆ ใส่ลงไปใน Title, Description, ALT ของรูปภาพ
ปลั๊กอินจัดการแคช(Cache): W3 Total Cache
เป็นปลั๊กอินอีกตัวที่ขาดไม่ได้สำหรับ WordPress โดยปกติแล้วเวลาเราเข้าดูเว็บไซต์แต่ละครั้ง ระบบจะไปดึงข้อมูลจาก Server
ทุกครั้ง แต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลาในการโหลดไฟล์ทั้งหมด ปลั๊กอิน W3 Total Cache จะช่วยให้เบราเซอร์เก็บประวัติหรือแคช ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องไปโหลดจาก Server ทำให้เข้าเว็บได้เร็วขึ้น และยังมีฟีเจอร์ในการบีบไฟล์ Html, Css,Js ทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นไปอีก
ปลั๊กอินการแชร์ : Seed Social
เป็นปลั๊กอินสำหรับแชร์ไปยังโซเชียลสำหรับ WordPress ที่พัฒนาโดยคนไทย ใช้งานค่อนข้างง่าย และมีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับเว็บไซต์ประเภทข่าว บทความ และ เว็บไซต์ E-commerce มีฟีเจอร์หลักๆคือ
- Post Type to show : เลือกว่าจะแสดงที่ Posts, Page หรืออื่นๆ
- Position to show : เลือกตำแหน่งบนหรือล่าง
- Social : เลือกโซเชียลที่ต้องการใช้งาน เช่น Facebook, Twitter, G+, Line
ปลั๊กอินจัดการฟอนต์ : Seed Fonts
เป็นปลั๊กอินอีกตัวที่พัฒนาโดยคนไทย Seed Fonts คือปลั๊กอิน WordPress ที่ช่วยให้เราใช้ฟอนต์ง่ายขึ้น โดยตัวนี้เราสามารถ เรียกใช้ฟอนต์จาก Google Fonts, ฟอนต์ไทยที่ปลั๊กอินบรรจุมาให้ และยังสามารถใส่ฟอนต์ของเราเองเข้าไปในปลั๊กอินได้ด้วย
ปลั๊กอินจัดวาง Layout : Page Builder by SiteOrigin
Page Builder : คือระบบการจัดวาง Layout ของหน้าเพจหรือโพสของ WordPress ที่มาพร้อมกับระบบลากวาง(Drag & Drop) ทำให้เราจัดวางโครงสร้างเว็บได้ง่ายขึ้น ทำให้เว็บไซต์รองรับมือถือ(Responsive) และยังมีวิตเจ็ต(Widget) ให้เราเลือกใช้มากมาย
เป็นปลั๊กอินที่ถูกติดตั้งมากกว่าล้านครั้ง และที่เด็กว่านั้นคือสามารรถโหลดใช้งานบน WordPress ได้ฟรีๆ
ปลั๊กอิน Security : All In One WP Security & Firewall
All In One WP Security & Firewall : เป็นปลั๊กอินด้านความปลอดภัยที่ครบเครื่องที่สุดสำหรับ WordPress เพราะว่ามีฟังก์ชันการตั้งค่าที่ครอบคลุมทุกส่วนของ Wordprss แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้
- USER ACCOUNTS SECURITY : การเขียน Username, ชื่อที่แสดง และรหัสผ่าน
- USER LOGIN SECURITY : จัดการการ Login เช่น เมื่อมีคนพยายาม Login เกิน 3 ครั้ง ให้ Block IP นั้นๆ
- USER REGISTRATION SECURITY : การยืนยันให้เป็นสมาชิก ติดตั้งระบบ Captcha ป้องกันสแปม
- DATABASE SECURITY : การตั้งชื่อ DB Prefix และ BackUp ฐานข้อมูล
- FILE SYSTEM SECURITY : การตั้งค่า Permission การป้องกันการแก้ไขไฟล์ต่างๆ
- BLACKLIST FUNCTIONALITY : IP ที่ถูก BlackList
- FIREWALL FUNCTIONALITY : การเปิดระบบป้องกัน หรือ Firewall
- BRUTE FORCE : การเปลี่ยนชื่อ Login Page จาก wp-admin เป็นชื่ออื่น และติดตั้งระบบ Login Captcha เพื่อป้องกันสแปม
- SECURITY SCANNER : การแสกนด้านความปลอดภัย
- COMMENT SPAM SECURITY : ป้องกันสแปมในช่อง cocmment
- และยังมีฟีเจอร์อื่นๆอีกเยอะเลยครับ
7. เปิด SEO ให้ robots มาจัดอันดับเว็บไซต์
ทุกครั้งที่ต้องการให้เว็บไซต์เริ่มออนไลน์ ให้มาตรวจสอบที่การตั้งค่า Settings –> Reading สังเกตตรงที่ “Search Engine Visibility” ว่ากำลังติ๊ก หรือไม่ได้ติ๊ก ถ้า ติ๊ก แปลว่ากำลังบล็อคการแสดงผลใน google
หากต้องการให้ Google เริ่มจัดอันดับเว็บไซต์เรา ต้องมาเปิดการใช้งานตรงนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ติ๊กออก แล้วบันทึกได้เลยครับ แต่นี่เป็นขั้นตอนแรกของการทำ SEO บน WordPress เท่านั้น หากหวังอยากให้ติดอันดับดีๆ แนะนำให้ไปศึกษาการทำ SEO Onpage หรือถ้าใครต้องการให้ติดอันดับทันทีทันใด คงต้องไปพึ่งพวก Ads แล้วละครับ