เคล็ดลับในการเลือก บริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ แบบที่จ้างแล้วจบจริง

เคล็ดลับในการเลือก บริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ แบบที่จ้างแล้วจบจริง

อย่างที่ทราบกันดีว่า เดี๋ยวนี้มีบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์เยอะมากๆ มีตั้งแต่ Agency บริษัทขนาดกลาง บริษัทขนาดเล็ก ฟรีแลนซ์ทั่วไป ซึ่งแต่ละที่มีเรทราคาต่างกัน กลุ่มเป้าหมายต่างกัน แต่ละบริษัทมีทั้งข้อดีข้อเสียไม่เหมือนกันด้วย หากเลือกผิด ก็อาจจะทำให้เสียเงินเสียเวลาแถมงานไม่จบ ผมเคยเขียนบทความ จ้างทำเว็บไซต์ที่ไหนดี ลองไปอ่านกันดูครับ

ฉะนั้นแล้ว การเลือกบริษัทที่จะทำเว็บไซต์ให้เรา สำหรับผมมันสำคัญมากๆ ผมมีประสบการณ์โดยตรง มีลูกค้าที่มาจ้างทำเว็บไซต์ให้ผมช่วยดูเว็บหน่อย ว่าจะต่อยอดยังไงได้บ้าง ให้ปรับแต่งได้เยอะ ใช้งานง่าย ดูไปดูมาปรากฏว่าที่เดิมเค้าใช้วิธีเขียน Code ขึ้นมาเอง โดยไม่ได้ทำหลังบ้านให้ ทีนี้เวลาจะแก้ต้องแก้ในโค้ดตรงๆ ซึ่งไม่เหมาะกับคนทั่วไปแน่ๆ แถมจ้างไปหลายหมื่นบาท สุดท้ายผมต้องทำเว็บให้ใหม่ใช้งบแค่ 1-2หมื่นเท่านั้น ก็ได้เว็บที่ออกแบบมาอย่างดี หลังบ้านใช้ง่าย ต่อยอดได้

ในบทความนี้ ผมจะมาแชร์เคล็ดลับในการเลือกบริษัทจ้างทำเว็บไซต์ เลือกยังไงให้ได้งานดี จบจริง ไม่เข้าเนื้อ

1. เช็คความพร้อมของเรา ก่อนที่จะไปจ้างทำเว็บไซต์

ลองคิดดูถ้าเราจะไปจ้างคนสร้างบ้าน แต่เราไม่พร้อมอะไรสักอย่าง ก็คงไม่มีผู้รับเหมาคนไหนอยากรับงาน ถูกไหมครับ

เช่นเดียวกัน เวลาทำเว็บไซต์ เราต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมที่สุด หากเราเตรียมแบบลวกๆ ผมรับประกันได้ว่า งานจบไม่สวยแน่นอน หรือยืดเยื้อเป็นปีเลย แล้วเราต้องเตรียมอะไรบ้างละก่อนที่จะไปจ้างทำเว็บ?

  • สโคปงาน : เว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีกี่หน้ากี่เมนู แต่ละหน้ามีข้อมูลอะไรบ้าง ต้องระบุให้ละเอียดที่สุด
  • โทนสี : สีสันรูปแบบที่ต้องการ อาจจะอ้างอิงตาม Logo หรือ ตาม Ci ของบริษัทครับ
  • Ref ตัวอย่าง : ยิ่งถ้ามีเว็บตัวอย่างแนวที่ชอบ ก็รวบรวมส่งมาหลายเว็บหน่อยจะดีมากๆ ครับ
  • Sitemap Menu : อาจจะลิสเมนูเคร่าๆ เป็นรูปแบบ Sitemap ครับ จะได้เห็นภาพว่าทั้งหมดมีหน้าอะไรบ้าง
  • ข้อมูลจริง : ข้อมูลสำหรับใส่ในเว็บไซต์จริงๆ เอาบางส่วนก่อนได้ครับ เพื่อให้เห็นภาพเนื้องานจริงๆ
  • ฟังก์ชันเฉพาะ : ลูกค้าบางคนอยากได้โมดูลเฉพาะเช่น ระบบคำนวณ, การแสดงผลที่ซับซ้อนขึ้น, ลูกเล่นพิเศษที่หาปลั๊กอินไม่ได้

ทั้งหมดที่ผมลิสด้านบนนี้ จะมีผลต่อการประเมินราคาทั้งสิ้นครับ เพราะฉะนั้นผมมักจะย้ำกับลูกค้าเสมอว่า สโคปงานต้องละเอียด ข้อมูลต้องพร้อมอย่างน้อยต้อง 60% ขึ้นไป ไม่อย่างงั้นงานอาจจะยืดเยื้อ บางเคสถึงขั้นจบไม่สวยก็มี คนจ้างก็ไม่ได้งาน คนทำงานก็ไม่ได้เงิน เสียหายทั้งคู่

2. กำหนดระยะเวลา และตั้งงบที่เตรียมไว้

ข้อนี้ผมว่าสำคัญที่สุดเลย เพราะเป็นตัวกำหนดว่า เราต้องไปจ้างใคร เช่น ถ้าเราบอกว่า มีงบหลักพัน แต่อยากจ้างบริษัทมืออาชีพ อาจจะไม่ได้แน่นอนครับ ผมเคยเขียนบทความ ราคากลางจ้างทำเว็บไซต์ ลองไปอ่านได้ครับ

งบประมาณที่เรากำหนด บ่งบอกได้หลายอย่างเลยครับ เช่น คุณภาพเว็บที่จะได้, ขนาดเว็บไซต์, คนที่จะทำเว็บให้เรา

และอีกเรื่องนึงคือ ระยะเวลา เราควรกำหนดเคร่าๆ ครับ เช่น ถ้ามีเวลาแค่ 5 วัน ก็คงต้องไปจ้างทำเว็บด้วยระบบสำเร็จรูป แต่ถ้ามีเวลายาวๆ 30-50 วัน ก็สามารถจ้าง ผู้รับจ้างก็สามารถออกแบบให้อย่างดีแบบ Custom Design

3. หาบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ ที่ตรงกับขอบเขตงาน

เอาละ ในเมื่อเรารู้แล้วว่า สโคปงานเรามีอะไรบ้าง รวมถึงงบประมาณที่ตั้งไว้ในใจ ตอนนี้เราสามารถประเมินได้แล้วเคร่าๆ ว่าเราต้องไปจ้างใคร ผมให้ไอเดียตามด้านล่างนี้ครับ

ประเภทเว็บไซต์

  • หากสโคปงาน เป็นเว็บที่มีความซับซ้อนมากๆ หรือ ระบบเฉพาะทาง เว็บไซต์ขนาดใหญ่มาก ผมแนะนำให้ไปหาบริษัทที่รับพัฒนาเว็บแบบ Develop ขึ้นมาเองโดยใช้ Framework ต่างๆ *ต้อง Maintenance ตลอด
  • หากเป็นเว็บไซต์บริษัท เน้นแสดงผลงาน ข้อมูล มี Layout ที่ซับซ้อนเล็กน้อยตามรูปแบบข้อมูล ผมแนะนำให้ไปหาบริษัทที่ถนัดเรื่อง Web Design ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้ WordPress พัฒนา เพราะใช้งบน้อย เสร็จไว แถมได้เว็บที่สวยงาม *ต้อง Maintenance ตลอด
  • หากเป็นเว็บไซต์ธรรมดาๆ ไม่ต้องการเน้นดีไซน์ หรือ ไม่มีเวลาดูแล แนะนำให้ไปเช่าพวก เว็บสำเร็จรูปดีกว่าครับ ราคาถูกมาก แถมไม่ต้องดูแล Domain & Hosting เอง เน้นสบายใจ

งบประมาณ

  • จ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ : คิดราคาทำเว็บ : 50,000 – 250,000Up
  • จ้างฟรีแลนซ์ : คิดราคาทำเว็บ : หลักพัน – 50,000Up *เสี่ยงโดนเทงานด้วย
  • จ้าง Agency : คิดราคาทำเว็บ : 250,000 – 5,000,000Up
  • เว็บสำเร็จรูป : 1,000 – 10,000
  • teeneeweb : เราเป็นบริษัทที่ถนัด WordPress โดยตรง ทำเว็บเน้นออกแบบให้โดยเฉพาะ งานคุณภาพเน้นๆ แต่คิดในราคาทำเว็บแบบฟรีแลนซ์ ลองดูผลงานได้ครับ

4. ขั้นตอนการทำงาน และความเชี่ยวชาญของทีมงาน

ขั้นตอนการทำงานของบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์มืออาชีพ มักจะมีขั้นตอนที่ชัดเจน และเป็นระบบ โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นตอนการบรีฟรายละเอียด
  • ออกใบเสนอราคา เงื่อนไขการทำงาน และเงื่อนไขการชำระเงิน
  • วางบิลมัดจำงวดแรกก่อนเริ่มงาน
  • ออกแบบดีไซน์ต้นแบบ หรือ ดราฟแรก
  • เริ่มทำเว็บไซต์
  • ทดสอบและแก้ไข
  • จบงาน วางบิลงวดสุดท้าย และเข้าสู่ขั้นตอนการดูแลหลังการขาย

ถ้าคุณไปเจอคนรับจ้างแบบคุยแปปๆ 5-10 นาที แล้วให้โอนเงินเลย สรุปยอดผ่านไลน์ ผมว่าเสี่ยงมากๆ ควรหลีกเลี่ยง เพราะรายละเอียดเชิงลึกไม่สามารถคุยแบบแปปๆ ได้แน่นอน

ความเชี่ยวชาญของทีมงาน

อันดับแรก เราต้องรู้เราก่อน ตามที่ผมระบุในข้อที่ 1 ว่าสโคปงานเราเนี่ยประมาณไหน ต้องไปจ้างใคร ในข้อที่ 3

สมมติงานของเรา ต้องใช้วิธีเขียน Code ขึ้นมาเอง ไม่สามารถใช้พวก CMS ได้ แน่นอนว่าเราต้องหาคนที่เก่งเกี่ยวกับการเขียน Code โดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะดูจากสิ่งที่เค้าแชร์ผ่านบทความ ดูจากผลงาน หรือ เพื่อนแนะนำมา

สมมติงานของเรา เป็นเว็บบริษัทเน้นแสดงข้อมูล แต่ซีเรียสเรื่องดีไซน์มากๆ เราต้องหาคนที่รับทำเว็บแบบ Custom Design

ถ้าเราไปจ้างใครที่เก่งไม่ตรงกับเนื้องานของเรา อาจจะต้องเสียเวลาจ้างหลายรอบก็ได้ครับ เสียทั้งเวลาเสียทั้งเงิน ฉะนั้นแล้ว ควรพิจารณาให้ดีๆ ก่อนที่จะจ้างใครมาทำเว็บให้

5. ประสบการณ์และผลงานตัวอย่างเว็บไซต์ที่ผ่านมา

ประสบการณ์

สำหรับผมคิดว่าสำคัญมากๆ คนที่มีประสบการณ์มักจะมองภาพกว้างได้ดี รู้ว่างานแบบนี้ เจอปัญหาแบบนี้ ต้องแก้ยังไง โจทย์แบบนี้ ต้องใช้วิธีไหน แบบไม่ต้องเสียเวลาคิดให้นาน

หรืออาจจะรู้ประสบการณ์เค้าผ่านบทความที่แชร์ในเว็บ ตัวอย่างที่ผมแชร์

แชร์จากประสบการณ์

เคสการรีดีไซน์จากเว็บเก่า

เว็บเก่าหมายความว่า เป็นเว็บที่มีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว มีคะแนน SEO ที่อาจจะดีมากอยู่แล้ว และมีฐานคนเข้าเว็บที่จำลิงค์ต่างๆ จุดที่ต้องระวังมากๆ คือ Slug URL ของหน้าต่างๆ ต้องเปะเหมือนเดิม ถ้าทำลิงค์ใหม่ หน้าที่ติด SEO อยู่แล้วจะร่วงทันที กลายเป็นหน้าเสีย 404

ถ้าเจอเคสที่ซีเรียสเรื่องลิงค์เดิมแบบนี้ มี 2 วิธีแก้ คือ ใช้ลิงค์แบบเดิมเปะ หรือ ถ้าต้องเปลี่ยน จำเป็นต้องทำ Redirect 301 ด้วย ถึงจะไม่เสียฐานคนเข้าเว็บเดิม และอันดับจะไม่ร่วงขนาดนั้น

คนที่มีประสบการณ์เท่านั้นที่รู้เคสแบบนี้

ผลงานตัวอย่าง

เราจะไม่รู้เลยว่าคนที่จะทำเว็บให้เราเก่งแค่ไหน เชี่ยวชาญแค่ไหน ถ้าเค้าไม่มีผลงานมารับประกัน ผลงานตัวอย่าง บ่งบอกถึงทุกสิ่งทุกอย่างของการทำงาน

6. บริการหลังการขาย ให้คำปรึกษาในการดูแล

บริการหลังการขายเป็นสิ่งที่ผมจะแนะนำให้เช็ค จริงๆ การจ้างทำเว็บไซต์ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อรถยนต์ ซื้อเสร็จแล้วเราต้องคอยเข้าศูนย์เช็คระยะตลอดหลายปี การทำเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกัน

ระหว่างที่เราใช้งานเว็บไซต์ เราจำเป็นต้องอัพเดตระบบหลังบ้านตลอดเวลา เพื่อให้เว็บไซต์มีความสดใหม่ ปลอดภัย แต่บางครั้งก็อาจจะมีปัญหาบางอย่างระหว่างทาง จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ

บริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์มืออาชีพ ควรให้คำแนะนำหลังการขาย อย่างน้อยก็ต้องแนะนำแนวทางได้ ไม่ถึงกับช่วยแก้ให้ ไม่ทอดทิ้ง

ตัวอย่างบริการหลังการขาย

  • สอนการใช้งานผ่าน Zoom, Meet 1 ชั่วโมง
  • คู่มือการใช้งานรูปแบบ PDF
  • หากมีปัญหาการใช้งาน สามารถติดต่อได้ตลอด 1 ปี

สรุป

เคล็ดลับในการเลือก บริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ จริงๆ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่เรา “รู้เขา รู้เรา” จ้างร้อยครั้ง ก็คุ้มค่าร้อยครั้ง ถึงแม้ผมเองก็เป็นบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ แต่ทุกครั้งที่ลูกค้ามาจ้างทำเว็บ ก็อยากให้ลูกค้าคุ้มค่าที่สุดกับเงินที่จ่ายไป ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ ควรคิดให้ถี่ถ้วนรอบคอบ


หากชอบบทความแนวนี้ สาระแบบนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยคร้าบบ


About The Author