เครื่องมือในการทำเว็บไซต์ในปัจจุบัน มีเยอะมากๆ มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน เช่น WordPress, Joomla, Wix, Weebly, Magento, Drupal ทำให้เราสามารถมีเว็บไซต์ได้ไม่ยาก และราคาไม่แพง แต่อย่าไปคิดว่าการที่จะมีเว็บไซต์บริษัทสักเว็บ ที่มีคุณภาพ ดีไซน์ถูกใจจริงๆ สามารถหาได้ในราคาหลักพัน
เพราะผมเชื่อว่าการที่เราจะมีเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสักเว็บ ไม่ว่าจะพัฒนาด้วยเพลตฟอร์มอะไร ก็ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอน
1. บรีฟรายละเอียดเว็บไซต์และเป้าหมายในการทำเว็บไซต์
บรีฟรายละเอียด
การทำเว็บไซต์คล้ายๆ กับการสร้างบ้าน คือต้องมีพิมพ์เขียวแบบแปลน ที่บ่งบอกถึงรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งเว็บไซต์ก็ต้องมี Scope ว่าเว็บไซต์ที่ต้องการควรมีอะไรบ้าง เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อโดเมนเนม โทนสี ประเภทเว็บไซต์ที่ต้องการ จำนวนหน้าเพจ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ
เช่น เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ต้องการนำเสนอโปรโมชั่น อาจจะเสริมระบบ PopUp ระบบลงทะเบียนเพื่อรับโปรโมชั่นทางอีเมล์
หากระบุรายละเอียดเว็บไซต์ไม่ชัดเจน หรือคลุมเครือ อาจจะได้เว็บไซต์ที่ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจ หรือ ไม่ตรงกับที่อยากได้จริงๆ เพราะฉะนั้น ควรเขียนรายละเอียดที่ชัดเจน ก่อนที่จะไปจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์
จากประสบการณ์ที่ทำเว็บไซต์ให้กับลูกค้ามากกว่า 100+ เว็บ พบว่า หากลูกค้าส่งรายละเอียดที่ต้องการครบถ้วน ส่งผลให้ทีมงาน ทำเว็บไซต์ได้รวดเร็วมาก ตั้งแต่ดีไซน์เนอร์ออกแบบเว็บ จนถึงโปรแกรมเมอร์ แต่หากลูกค้าส่งข้อมูลมาเคร่าๆ ทำให้เราต้องคาดเดารูปแบบเอง บางทีอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง แก้ไขไปมาหลายส่ง ทำให้ต้องยืดระยะเวลาออกไป
หากใครที่กำลังตัดสินใจจะจ้างทำเว็บไซต์ แต่ยังไม่รู้ว่าต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แนะนำให้อ่านบทความ จ้างทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
เป้าหมายในการทำเว็บไซต์
แต่ละธุรกิจมีเป้าหมายปลายทาง และกลุ่มลูกค้าไม่เหมือนกัน เวลาทำเว็บไซต์ก็จะแตกต่างในเรื่องของรายละเอียด และฟังก์ชันการใช้ เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจขายสินค้าผู้สูงอายุ กลุ่มลูกค้าก็มักจะเป็นคนที่มีอายุ 50 ขึ้นไป เวลาออกแบบเว็บไซต์ ก็ต้องออกแบบตัวหนังสือที่ชัดเจน อ่านง่าย สบายตา
การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้คุณได้เว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้
2. ขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์
หลังจากที่ได้รายละเอียดของเว็บไซต์ครบถ้วน ต่อมาต้องส่งข้อมูลให้กับเว็บดีไซน์เนอร์ เพื่อออกแบบเว็บไซต์ โดยอิงจากโทนสี รูปแบบที่ลูกค้าต้องการ
เริ่มตั้งแต่การคิด Sitemap วางโครงสร้างของเว็บไซต์ การออกแบบโครงสร้าง Layout เพื่อนำข้อมูลมาจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม
การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรอ้างอิงหลัก UX/UI เช่น การจัดวางข้อความกับรูปภาพยังไง ให้อ่านได้ง่ายสบายตา วางปุ่มคลิกในตำแหน่งใหนที่มีโอกาสคลิกมากที่สุด
3. ลงมือทำเว็บไซต์
ขั้นตอนนี้ น่าจะเป็นขั้นตอนหลักในการทำเว็บไซต์ ที่ใช้เวลานานที่สุด ถ้าตีเป็นเปอร์เซ็น ก็ประมาณ 60% ของระยะเวลาทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาทำกี่วัน ขึ้นอยู่กับเพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือที่เราเลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ใช้เวลา 10 วัน แต่ถ้าพัฒนาด้วยการเขียนระบบใหม่ทั้งหมด อาจจะใช้เวลาราวๆ 40 วันก็เป็นไปได้
การเลือกเพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือ
การที่จะตัดสินใจจะเลือกเพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือตัวใหนในการทำเว็บไซต์ ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เริ่มตั้งแต่ ความชอบส่วนตัวของลูกค้าเอง งบประมาณ ระยะเวลา และฟังก์ชันการใช้งาน
หากจะทำเว็บไซต์บริษัท สำหรับเป็น Company Profile ไม่เกิน 5 เมนู งบประมาณไม่เกิน 30,000 บาท ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์น่าจะตอบโจทย์ที่สุด เนื่องจากพัฒนาได้ไว และยังได้เว็บที่สวยงาม(ขึ้นอยู่ความสามารถของคนทำเว็บด้วยนะ) หาคนจ้างทำเว็บได้ง่าย ไม่วา่จะเป็นฟรีแลนซ์ หรือบริษัทรับทำเว็บ หากใครอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ้างทำเว็บไซต์ ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ จ้างทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
หากเป็นระบบเฉพาะที่มีฟังก์ชันแปลกๆ หรือซับซ้อนขึ้น การใช้ WordPress อาจจะไม่ตอบโจทย์ ต้องหันไปมองเพลตฟอร์มพวก Framework ที่จำเป็นต้องเขียนระบบขึ้นมาใหม่หมด ซึ่งใช้เวลาเป็นเดือน และอัตราค่าจ้างก็จะแพงขึ้นตามความยากง่ายของระบบ
การจัดวาง Layout และ Responsive
หลังจากได้ดีไซน์จากดีไซน์เนอร์แล้ว ทางทีมโปรแกรมเมอร์ต้องมาจัดวาง Layout บนระบบจริง ในปัจจุบันเทรนด์มือถือมาแรงแซงทุกโค้ง ฉะนั้น การทำเว็บไซต์ก็ต้องลืมไม่ได้ ที่จะออกแบบให้รองรับมือถือ หรือ Responsive Web จากที่ดูสถิติเว็บไซต์ของผมเอง หรือของลูกค้า มีคนเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือเกิน 50% เป็นที่เรียบร้อย
ใครที่กำลังหาคนจ้างทำเว็บ ควรสอบถามด้วยว่า ทำเว็บแบบรองรับมือถือหรือเปล่า ที่เค้าเรียกว่า Responsive
4. ทดสอบและออนไลน์
ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดสอบในสิ่งที่ โปรแกรมเมอร์ได้ทำไป ว่าเรียบร้อยทุกหน้าทุกจุดใหน ฟังก์ชันทุกอย่างพร้อมใช้งานหรือเปล่า การจัด Layout เปะทุกส่วนใหม เช่น เวลาเปิดในจอคอมฯ เวลาเปิดในมือถือ รวมถึงระบบรับ-ส่งอีเมล์ทำงานได้จริงใหม
หากทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดไว้ ก็ได้เวลากดปุ่มออนไลน์เว็บไซต์ได้เลยยย
แต่… ลูกค้าบางคนคิดว่า ทำเว็บเสร็จแล้วก็จบเลย ไม่ต้องทำอะไรต่อ นั่งกระดิกนิ้วรอคนโทรมา หรือถ้าเป็นเว็บไซต์ E-commerce ก็นั่งรอยอดออเดอร์เข้ามาถล่มทลาย บอกได้เลยว่าคิดผิดครับ
ก่อนอื่น ก่อนที่คนทั่วไป หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะรู้จักเรา จะติดต่อเราผ่านเว็บไซต์ที่เราทำขึ้นมา เว็บไซต์เราต้องติดอันดับหน้าแรกของ Google ซะก่อน หรือติดอันดับ 1 จะยิ่งมีคนติดต่อเข้ามามาก คำถามคือ ทำเว็บไซต์เสร็จแล้วติดหน้าแรกเลยหรอ? คำตอบคือยังครับ เราต้องผ่านกระบวนการทำ SEO การทำ Onpage SEO การ Submit หรือลงทะเบียนเว็บไซต์กับ Google จากนั้นบอทของกูเกิลจะเข้ามาเก็บข้อมูล แล้วค่อยๆ จัดอันดับ ตามคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์เราเทียบกับคู่แข่ง
บาง Keyword กว่าจะติดหน้าแรกก็อาจจะใช้เวลา 1-8 เดือน ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ทำด้วยครับ
ผมกำลังจะบอกว่า การทำเว็บไซต์ กับการทำ Online Marketing หรือทำ SEO หรือ ทำ Google Adwords มันเป็นคนละเรื่องกับการทำเว็บไซต์ จ้างทำเว็บไซต์แล้ว ถ้าอยากให้ติดอันดับไวๆ ก็อาจจะต้องจ้างทำ Online Marketing เพิ่มด้วย
4 ข้อที่เขียนไป เป็นขั้นตอนหลักๆ เวลาทำเว็บไซต์ ซึ่งจริงๆ อาจจะมีขั้นตอนปลีกย่อยอีกเยอะ แค่นี้ก็น่าจะพอเห็นภาพรวมว่า กว่าเว็บไซต์จะเสร็จสักเว็บ ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง