วิธี BackUp เว็บไซต์ WordPress มีหลายวิธีด้วยกัน ปลั๊กอิน All-In-One WP Migration ทำให้เราสามารถย้ายเว็บไซต์ให้เป็นเรื่องง่าย มันช่วยสำรองหรือ Exports ฐานข้อมูล ไฟล์ต่างๆ ปลั๊กอิน และธีม ภายในไม่เกิน 3 คลิก ผ่านระบบหลังบ้านของ WordPress และเราสามารถย้ายเว็บไซต์ ไปติดตั้งบนโฮสติ้งอื่น โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาที่จะตามมา
1. วิธี Export หรือ BackUp
หลังจากที่ติดตั้ง Plugin เรียบร้อย จะมีเมนูหลักด้านซ้ายโผล่ขึ้นมาชื่อ All-in-One WP Migration
- คลิกที่ Export
- คลิก Export to –> FILE : *ส่วนนี้มันคือการเลือกว่าเราจะแบ็คอัพไว้ที่ใหน แนะนำให้เลือกไฟล์
- รอจนกว่า 100% มันจะเด้งให้เราดาว์นโหลด หรือถ้าไม่อยากดาว์นโหลดก็ได้ เพราะไฟล์จะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ในโฮสติ้ง
แล้วไฟล์ถูกเก็บไว้ที่ใหน? จะถูกเก็บไว้ 2 ที่คือ
– เมนู BackUps : คลิกที่เมนู All-in-One WP Migration –> Backups : จะมีปุ่ม 3 ปุ่มคือ Download ไฟล์เพือเก็บในเครื่อง, Restore หรือกู้คืนกลับมา, และ Delete หรือลบไฟล์ทิ้ง
2. วิธี Import หรือ Restore
การ Import เว็บไซต์หรือ Restore WordPress ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเว็บไซต์ที่ทำด้วยเวิร์ดเพรสจากโฮสนึง ไปติดตั้งอีกโฮสนึง หรือเราต้องการที่จะกู้คืนเว็บไซต์ อาจจะด้วยเหตุผลเว็บไซต์โดนแฮ็ค หรือต้องการย้อนกลับไปเวอร์ชั่นก่อนหน้า หลักๆ ก็มี 2 วิธี
(1) All-in-One WP Migration > Import : ลากไฟล์แบ็คอัพที่เราดาว์นโหลดเก็บไว้
(2) ดึงไฟล์ที่เคย BackUp : คลิกที่เมนู All-in-One WP Migration –> Backups : คลิกที่ปุ่ม Restore ของเวอร์ชั่นไฟล์ที่สำรองไว้
– คลิก PROCEED > : มันจะเขียนทับเว็บไซต์เดิม ประกอบด้วย Database, Media, Plugins, Themes แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์เดิมได้สำรองเก็บไว้หรือเปล่า ก็กลับไปแบ็คอัพให้เรียบร้อยก่อนครับ จะได้ไม่ต้องวุ่นวายภายหลัง
เข้าสู่ขั้นตอนการเขียนทับเว็บไซต์เดิม ห้ามปิดหน้านี้จนกว่าจะถึง 100%
หากสำเร็จ มันจะขึ้นข้อความว่า “Your data has been imported successfully!” และยังไม่จบนะครับ ต้องทำอีก 2 ขั้นตอน
ข้อที่ (1) : คลิกที่ลิงค์ “Permalinks Settings” เพื่ออัพเดตรูปแบบลิงค์ ให้คลิก Save 2 ครั้ง *หากข้ามขั้นตอนนี้อาจจะทำให้บางหน้าหาไม่เจอ
ข้อที่(2) : รีวิวปลั๊กอิน ว่าเราใช้แล้วเป็นอย่างไร *แต่ไม่รีวิวก็ไม่เป็นไรนะ 555+
3. Import แล้วค้างแก้อย่างไร
ค้าง : เป็นไปได้ว่า memory_limit, upload_max_filesize, post_max_size, max_execution_time เกินกำหนดของค่า Default ของโฮสติ้ง แต่เราสามารถ Custom ได้ครับ โดยการใส่โค้ดเพิ่มเติมในไฟล์ .htaccess
นำ CODE ด้านล่างไปใส่ใน .htaccess หากใส่แล้วยังค้างอีก แนะนำให้เพิ่มตัวเลขเช่นจาก 64M เป็น 286M เพราะบางครั้งถ้าเว็บไซต์ขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้ค่าเยอะๆ ถึงจะผ่าน
php_value upload_max_filesize 64M
php_value post_max_size 64M
php_value max_execution_time 300
php_value max_input_time 300
4. Unable to export แก้อย่างไร
กรณีที่เราจะ BackUp หรือ Export เว็บไซต์แล้ว ระบบแจ้งเตือนขึ้นมาว่า Unable to export หรือค้างในขั้นตอนใดขั้นตอนนึงนานผิดปกติ ลองตรวจสอบ Disk Space(พื้นที่ความจุ)ของโฮสติ้ง ว่าพื้นที่เต็มหรือเปล่าหรือเหลือพื้นที่ไม่พอ
โดยปกติแล้ววิธีตรวจสอบ Disk Space หรือพื้นที่ความจุของโฮสติ้ง ทำได้โดยการเปิด Control Panel ขึ้นมา เช่น Direct-Admin, CPanel, Plesk หรือยี่ห้ออื่นๆ หรือติดต่อสอบถามเจ้าโฮสติ้งที่เราเช่ามา ให้เค้าช่วยตรวจสอบให้
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : ลองเข้า ftp เปิดดูโฟลเดอร์ /wp-content/ai1wm-backups/ แล้วลบไฟล์ที่มีอยู่ออกน่ะครับ เป็นไปได้ว่ามีไฟล์ BackUp เก่าๆ เยอะเกินไป
5. เคล็ดไม่ลับการใช้ All-In-One WP Migration
- เวอร์ชั่น Free รองรับขนาดไฟล์ได้ไม่เกิน 500MB ถ้าเกินต้องซื้อแพคเกจเพิ่ม
- Advanced options : การเลือกแบ็คอัพเฉพาะสิ่งที่ต้องการ
- เราสามารถแบ็คอัพไปที่ DROPBOX, GOOGLE DRIVE, ONE DRIVE ตั้งเวลาให้แบ็คอัพอัตโนมัติได้ แต่ต้องซื้อ Add-on เพิ่มนะครับ