WordPress มีระบบ Media Library เป็นระบบจัดการไฟล์มีเดีย เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง และไฟล์เอกสาร เป็นต้น ภายในเมนู Media ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดไฟล์และจัดหมวดหมู่ไฟล์อย่างเป็นระบบ แต่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินที่ช่วยเสริมความสามารถของ Media Library เพิ่มเข้าไป ตัวอย่างเช่น Media Library Assistant และ Enhanced Media Library
1. ส่วนประกอบของ Media Library
เมนูไฟล์สื่อจะประกอบไปดว้ยคลังไฟล์สื่อ, เพิ่มไฟล์ใหม่ ในส่วนของคลังไฟล์สื่อ คือส่วนที่แสดงไฟล์ สื่อทั้งหมดที่ถูกใชง้านภายในเว็บ และสามารถจัดการเพิ่ม,ลบ,แก้ไขและดูรายละเอียดของไฟล์ได้ภายในนี้ตาม ภาพตวัอย่างต่อไปนี้
ส่วนต่างๆของ Media Library
- ปุ่มเลือกมุมมองระหว่าง List View กับ Grid View
- ปุ่ม Add New ใช้สำหรับอัพโหลดไฟล์สื่อ
- Bulk Select คลิกเพื่อเลือกไฟล์สื่อที่ต้องการลบ
- ตัวกรอง (Filter) เพื่อใช้เลือกดูไฟล์แต่ละประเภท ได้แก่ Images, Audio, Video, PDF, Unattached, All Uncategorised
- ตัวกรอง (Filter) เพื่อใช้เลือกดูไฟล์แบบแยกวันที่ (Dates)
- ตัวกรอง (Filter) เพื่อใช้เลือกดูไฟล์แบบแยกตามหมวดหมู่ (Media Categories) (จะปรากฏเมื่อมีการสร้างหมวดหมู่ให้ไฟล์)
- ช่องสำหรับค้นหาไฟล์สื่อ
2. การอัพโหลดไฟล์สื่อ
การเพิ่มไฟล์สื่อเพื่อใช้งานบน WordPress จำเป็นต้องใช้วิธีการอัพโหลดเก็บไว้ใน Media Library ก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ในเนื้อหาได้ สำหรับการเพิ่มหรือการอัพโหลดไฟล์สื่อ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
เมนูไฟล์ (Media)
วิธีที่ 1. การอัพโหลดผ่าน Media Library
ผู้ใช้งานคลิกเลือกที่ปุ่ม Add New แล้วกด Select Files เพื่อเลือกไฟล์
Add New ภายใต้เมนู Media แล้วกด Select Files เพื่อเลือกไฟล์
วิธีที่ 2. เพิ่มไฟล์แบบลากไฟล์จากคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้งานสามารถใช้วิธีการลากไฟล์จากคอมพิวเตอร์ไปวางลงในหน้าต่าง Media Library โดยตรง
แนะนำ : ตรวจสอบขนาดของไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดให้มีขนาดเล็กกว่า “ขนาดไฟล์อัพโหลดใหญ่ที่สุด” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการอัพโหลด เราสามารถอัพโหลดไฟล์ขนาดสูงสุด 2 MB
3. รูปแบบแสดงคลังไฟล์สื่อ
คลังไฟล์สื่อสามารถแสดงไฟล์ได้ 2 รูปแบบคือ แบบภาพตัวอย่าง (thumbnail) และ แบบรายชื่อ (list) โดยแบบรายชื่อจะมีการแสดงข้อมูลประกอบดังนี้
- ไฟล์ – ชื่อไฟล์
- ผู้เขียน – ชื่อ user ที่อัพโหลด
- อัพโหลดไปที่ – post หรือ page ทีเอารูปนี้ไปใช้
- ความเห็น – คำอธิบายไฟล์
- วันที่อัพโหลด – อัพโหลดมานานแค่ไหนแล้ว
4. แก้ไข ลบ และแสดงไฟล์
เมื่อเลื่อนเมาท์ไปอยู่บนแถวของแต่ละไฟล์ จะแสดงเมนูย่อยเพื่อให้สามารถแก้ไขข้อมูลของแต่ละไฟล์ได้ดังนี้
- แก้ไข – เพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูลของไฟล์ เช่น การเปลี่ยนชื่อไฟล์ การเขียนคำบรรยาย และ ใส่ข้อมูล alt
- ลบอย่างถาวร – ลบทีละไฟล์ออกจากเว็บ
- ดู – กดเพื่อดูภาพใหญ่