เว็บ E-commerce คืออะไร? มีอะไรบ้าง ทำไมธุรกิจควรทำอย่างน้อย 1 เว็บไซต์

เว็บ E-commerce คือะไร? มีอะไรบ้าง ทำไมธุรกิจควรทำอย่างน้อย 1 เว็บไซต์

ก่อนที่จะไปพูดถึงเว็บ E-commerce ผมจะพามาเดินดูตลาดโดยรวมก่อนว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่แค่ไหน ทำไมเราควรหันมาสนใจอย่างจริงจัง จากรายงาน รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2022 พบว่า 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โตขึ้นมากถึง 2 เท่า คิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท โดยมีอีคอมเมิร์ซนี้แหละ เป็นตัวดัน

เอาละพูดถึงสถิติแล้ว อาจจะดูไกลตัวไป กลับมามองที่รอบๆ ตัวเราดีกว่า ลองนึกว่าเวลาเราจะซื้อสินค้าสักชิ้น ผมเชื่อว่าถ้าเรามีมือถือและเน็ต คงต้องเปิด Shopee, Lazada, Google เพื่อเช็ครายละเอียด เทียบสินค้า เช็คราคาจากหลายร้าน ลงเอยด้วยการสั่งซื้อในที่สุด

ล่าสุดเพื่อนผมสั่งเนื้อสดจาก Shopee คาดไม่ถึงใช่ไหมครับว่าจะขายได้ ของที่อยู่รอบๆ ตัวเราตอนนี้อยู่ในอีคอมเมิร์ซหมดแล้ว ของหนักแค่ไหน แพงแค่ไหน ก็ขายได้ ไกลแค่ไหนก็ไปถึง เห็นไหมครับว่านี่คือโอกาสทองสำหรับคนที่มีสินค้าอยู่ในมือ

จริงๆ ช่องทางในการขายออนไลน์มีเยอะครับ เช่น Facebook, Tiktok, Shopee, Lazada ฯลฯ แต่ทุกเพลตฟอร์มเราไม่ได้เป็นคนกำหนดกติกา ไม่ได้เป็นเจ้าของ 100% ทำให้บางครั้งเราก็เสียเปรียบ

ในบทความนี้ผมจะพามารู้จัก เว็บ E-commerce คืออะไร? และเป็นเพลตฟอร์มเดียวที่เราเป็นเจ้าของ 100%

เว็บ E-commerce คืออะไร?

เว็บ E-commerce คือ ร้านค้าในรูปแบบออนไลน์ ในเว็บไซต์มักจะประกอบด้วย รายการสินค้า แยกเป็นหมวดหมู่ ระบบค้นหา ระบบตะกร้าสินค้า การจัดส่ง การชำระเงิน เป็นต้น อีคอมเมิร์ซมักจะทำการซื้อ-ขายระหว่าง เจ้าของร้าน กับ คนซื้อสินค้า เรียกว่า B2C และอีกแบบนึงคือ เป็นการทำการซื้อ-ขายระหว่าง ธุรกิจ กับ ธุรกิจ เรียกว่า B2B จุดที่เว็บได้เปรียบคือ สามารถเปิดร้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เว็บ E-commerce คืออะไร?
เว็บ E-commerce คืออะไร?

การทำเว็บไซต์ E-commerce มีหลายเครื่องมือ  เช่น Shopify, Six, Bigcommerce, Squarespace, WordPress WooCommerce, Magenta เป็นต้น ซึ่งแต่ละเพลตฟอร์มก็จะแตกต่างกันออกไป บางตัวก็เป็นระบบเว็บสำเร็จรูป และโอเพนซอร์ส(ฟรี) มีความยืดหยุ่นต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้ เราจะเป็นเจ้าของ 100% เราเป็นคนกำหนดว่า จะวางอะไรตรงไหน 

บริษัทรับทำเว็บไซต์ E-commerce ในไทย ส่วนใหญ่มักจะใช้ WooCommerce ในการทำเว็บ เพราะมันเป็นโอเพนซอร์สโหลดได้ฟรี แต่มันเป็นปลั๊กอินนึงในระบบ WordPress.org อีกที แต่ข้อดีคือ มันยืดหยุ่นมากๆ จ้างทำในราคาไม่แพง

เว็บไซต์ E-commerce ควรมีฟีเจอร์เด็ดอะไรบ้าง?

1. แบ่งเมนูและหมวดหมู่ให้ชัดเจน

Menu ของเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ เป็นสิ่งแรกที่คนเข้าเว็บจะเจอ เมนูจะช่วยให้ลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการได้ง่าย ซึ่งการวางโครงสร้างของเมนูว่า จะทำชั้นเดียว สองชั้น สามชั้น มันขึ้นอยู่กับรูปแบบของสินค้าเราว่า มีเยอะแค่ไหน

หากมีสินค้าเยอะมาก และมีหลายหมวดหมู่ จำเป็นต้องแบ่งกลุ่มของเมนูให้ชัดเจนและถูกต้อง การแบ่งกลุ่มของเมนูเว็บแต่ละธุรกิจจะไม่เหมือนกัน และจะต้องสอดคล้องกับกลุ่มของหมวดหมู่สินค้า

สรุปให้

การเรียงลำดับ เมนูและหมวดหมู่ ผมแนะนำว่าควรเรียงตามลำดับความสำคัญของสินค้า หรือ เรียงลำดับตามสินค้าที่ขายดีก็ได้ครับ

2. ระบบค้นหาต้องดี

ผมแยกเป็น 2 กรณีครับ กรณีแรกเว็บไซต์ E-commerce ขนาดเล็ก ที่มีสินค้าแค่ 1-20 ตัว ผมมองว่า อาจจะไม่จำเป็นต้องมีระบบค้นหาก็ได้ครับ เพราะสามารถแสดงทั้งหมดในหน้าเดียวได้

สำหรับเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีสินค้ามากกว่านั้น เช่น 30 – 200 ตัว อาจจะใช้ระบบค้นหาแบบธรรมดาได้ครับ

แต่สำหรับเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้าเยอะ หลักหลายร้อยถึงหลายพัน มีการแบ่งสินค้าตามหมวดหมู่ 2-3ชั้น แบ่งตามขนาด สี รูปแบบสินค้า การค้นหาธรรมดาอาจจะยังไม่พอ ต้องทำระบบ Search filter ที่ซับซ้อนมากขึ้น กรองสินค้าตาม หมวดหมู่, ราคา, สี, ขนาด, รูปแบบ เป็นต้น

ลองนึกภาพดูถ้าเว็บไซต์มีสินค้าหลักพันชิ้น แล้วไม่มีระบบค้นหาที่ดี ผมว่าลูกค้าเข้ามาแแปปเดียวก็น่จะออกแล้วครับ

3. ภาพต้องคมชัด น่าดึงดูด

เว็บไซต์ E-commerce ภาพต้องคมชัด น่าดึงดูด
ภาพต้องคมชัด น่าดึงดูด

เรื่องภาพของสินค้าผมคิดว่าน่าจะเป็น First Impression แรกที่ลูกค้ามักจะสังเกตเห็น มันคือความน่าเชื่อถือของสินค้า เราจะตัดสินว่าสินค้านี้ดีไม่ดี มีคุณภาพหรือไม่จากภาพ ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดด้วยซ้ำ

เทคนิคการถ่ายรูปสินค้าให้ดูแพง

  • ถ่ายภาพบนพื้นหลังที่ตัดกันกับสีสินค้า หรือถ่ายบนฉากหลังสีขาว
  • จัดระบบไฟให้ถ่ายสินค้าออกมาได้ชัด ครบทุกรายละเอียด
  • จัดองค์ประกอบ สัดส่วนให้ถูกตต้องตามหลัก กฏ 3 ส่วน
  • ถ่ายภาพให้เห็นหลายมุมมอง
  • ใส่ข้อความสำคัญบนภาพ เช่น รุ่น, ยี่ห้อ, จุดเด่น, การรับประกัน ฯลฯ แต่ระวังอย่าให้มากเกินจำเป็นจนรก

4. ขั้นตอนการสั่งซื้อต้องใช้ง่าย

ต่อให้เว็บไซต์ออกแบบมาอย่างดี สวยงาม ใช้ง่าย แต่ถ้าตอนจ่ายเงินกลับยุ่งยาก ซับซ้อน ก็พังได้ครับ เพราะอย่าลืมว่าลูกค้าของเราจะมีทั้งคนที่รุ้ไอที และ Low tech ถ้าเราต้องการขายในตลาดแมส เราก็ต้องทำระบบให้คนส่วนใหญ่ใช้เป็น

แนะนำให้

ผมแนะนำให้ใช้สี, ฟ้อนต์, ระยะห่างต่างๆ อย่างเหมาะสม ออกแบบยังไงก็ได้ให้ลูกค้าที่ใช้งานเข้าใจได้ง่าย ดูไม่รก รวมถึง ปุ่มต่างๆ ต้องโดดเด่น กดง่าย

ลดขั้นตอนให้น้อยที่สุด

โดยปกติแล้วเว็บไซต์ E-commerce จะมีไม่กี่ขั้นตอนครับ เช่น Cart, Checkout & Billing, Payment, Thank you page ประมาณนี้ครับ หากมากกว่านี้ น่าจะทำให้การสั่งซื้อยุ่งยากมากขึ้น

ชำระเงินได้หลายช่องทาง

ตามมาตรฐานแล้วต้องมีอย่างน้อย การโอนผ่านธนาคาร และควรมีช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ชำระผ่านบัตรเครดิต, ชำระปลายทาง

สรุปยอดเงินให้ชัดเจน

เรื่องตัวเลข ต้องทำสีให้เด่นกว่าข้อความปกติ และควรหนาใหญ่กว่าปกติ ลูกค้าจะได้ไม่สับสน

หน้า Thank you ต้องสรุปให้ชัด

หน้า Thank you ของร้านค้าออนไลน์ 
ต้องสรุปให้ชัด

หน้าสุดท้ายควรสรุปยอดการสั่งซื้อให้ครบถ้วน ช่องทางการชำระเงิน การจัดส่ง รวมถึง สรุปขั้นตอนหลังจากการสั่งซื้อ ว่าลูกค้าต้องทำอะไรบ้าง เช็คสถานะการสั่งซื้อยังไง

5. การชำระเงินมีหลายช่องทาง

การชำระเงินมีหลายช่องทาง
การชำระเงินมีหลายช่องทาง

การซื้อของออนไลน์แน่นอนว่าเราต้องจ่ายเงิน แต่ถ้าการชำระเงินยุ่งยาก ไม่ชัดเจน ลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อกับคู่แข่งก็ได้

โดยปกติแล้ว เว็บไซต์ E-commerce จะมีช่องทางการสั่งซื้อ 3-5 ช่องทาง เช่น

  • ชำระเงินผ่านการโอน
  • ชำระเงินผ่าน Payment Gateway ที่ตัดบัตรได้
  • ชำระเงินปลายทาง

6. ระบบคูปองส่วนลด

คูปองส่วนลด โปรโมชั่น

ระบบคูปอง เป็นตัวตอกย้ำให้ลูกค้าอยากซื้อกับเรามากขึ้นไปอีก ลองคิดดูถ้าเว็บ Shopee ไม่มีส่วนลด ไม่มีฟรีจัดส่ง ไม่มี 11.11 12.12 การซื้อของคงจะจืดน่าดู แต่พอมีโปรโมชั่น ทำให้การซื้อดูคึกคักขึ้นทันที ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าดีลนี้พลาดไม่ได้

การมีระบบคูปองสำหรับเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติในสมัยนี้

แต่การอัดโปรก็ต้องดูต้นทุนฝั่งเราด้วยครับ ว่าเรายังได้กำหนดตามที่ต้องการอยู่หรือเปล่า ไม่ควรเล่นสงครามราคา จนเราเจ๋ง เหมือนที่เค้ากล่าวว่า ขายดีจนเจ๋ง

7. ระบบแจ้งชำระเงิน และระบบ Tracking

สำหรับการชำระเงินผ่านการโอน ก็ต้องมีระบบการแจ้งโอนเงิน แนบสลิปแจ้งการโอน เวลาลูกค้าจ้างทีมผมทำเว็บไซต์ E-commerce ผมมักจะดักแบบฟอร์มแจ้งชำระเงินในหน้า Thank you page เลย และใส่ตรงเมนูหลักด้วย ที่ด้านล่างเว็บด้วย ดักทุกมุม เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายที่สุด

ส่วนระบบ Tracking อาจจะทำหน้านึงของเว็บไซต์ มีช่องให้กรอกเลข Order เพื่อเช็คสถานะ หรือจะส่งเมล์หาลูกค้าเพื่อแจ้งเลขพัสดุโดยตรงเลยก็ได้ครับ

8. ระบบแจ้งเตือนออเดอร์ผ่านอีเมล์ และ Line noti

ทุกการสั่งซื้อ ทุกการอัพเดตสถานะ ควรมีการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ และต้องมีการเทสระบบหลังบ้านให้แน่ใจว่า เวลาระบบแจ้งเตือนแล้ว ข้อความเข้าถังขยะหรือเปล่า แนะนำให้ใช้พวก Mail Service ต่างหาก จะได้ไม่พลาดทุกการแจ้งเตือน

อีกหนึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยม และลูกค้าชอบมากๆ คือ การแจ้งเตือนผ่านระบบ Line noti

สมมติมี Order เข้ามาผ่านเว็บไซต์ ฝั่งแอดมินก็จะได้รับการแจ้งเตือนทันที เพราะแอดมินส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยเช็คเมล์​และหลังบ้านกัน ถ้ามีการแจ้งเตือนแอดมินผ่าน Line noti ก็เป็นช่องทางที่สะดวกดีครับ

9. เว็บไซต์ต้องโหลดเร็ว

ทำไมต้องโหลดเร็ว? จากสถิติพบกว่า 53% ของคนเข้าเว็บ จะออกจากเว็บไซต์ทันที ถ้าโหลดช้ากว่า 3วินาที ยิ่งในปัจจุบัน คนเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือมากกว่าพีซีไปแล้ว

ถ้าทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ด้วย WordPress / Woocommerce โชคดีครับ เพราะจะมีปลั๊กอินสามารถตั้งค่าผ่านหลังบ้านได้เลย แจกสูตร 9 วิธีทำให้ WordPress โหลดเร็ว

10. ใช้ผ่านมือถือได้ดีไม่แพ้คอมฯ

ตอนนี้เฉลี่ยคนเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือมากขึ้น 62.06% หมายความว่ามันแซงผ่านคอมฯ ไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ทุกเว็บไซต์ต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า

สถิตถิการเข้าเว็บผ่านมือถือ
ขอบคุณภาพจาก : https://explodingtopics.com/blog/mobile-internet-traffic

ฉะนั้นเวลาออกแบบเว็บไซต์ ต้องเปลี่ยนไปใช้หลักการ Mobile first การออกแบบเว็บไซต์นอกจากต้องสวยแล้ว การจัดวางปุ่มต่างๆ ต้องใช้งานได้ง่าย

แนะนำให้

สำหรับลูกค้าที่ทำเว็บไซต์ E-Commerce กับผม หมดห่วงเรื่องนี้ครับ เพราะผมจะวางโครงสร้างให้รองรับตั้งแต่แรก และรองรับ SEO

11. ข้อมูลติดต่อของร้าน

ในชีวิตจริง เวลาเราไปซื้อของ เสื้อผ้า เวลาเราสงสัยก็มักจะถามแม่ค้าที่เฝ้าร้านอยู่ถูกไหมครับ แต่พอในออนไลน์ เราไม่รู้เลยว่า มีแม่ค้าอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า จำเป็นต้องติดต่อผ่านโทร ไลน์ แชท อย่างเดียวเลย

ถ้าเราไม่ได้ใส่ข้อมูลติดต่อให้ชัดเจน ลูกค้าหายาก เรามีโอกาสที่จะเสียลูกค้าไป ถ้าอยู่ๆ เว็บไซต์มีปัญหาขึ้นมา หรือลูกค้าเองใช้ระบบไม่เป็น

ผมแนะนำว่าให้เชื่อมปุ่ม Messenger Chat บนเว็บ หรือ ไม่ต้องทำ Sticky Contact ก็ดีเช่นกัน

12. ระบบ Login สมาชิก ใช้ง่าย

ระบบ Login สมาชิก ใช้ง่าย
ระบบ Login สมาชิก ใช้ง่าย

ถ้าเราไปเข้าเว็บไซต์แล้ว เจอแบบฟอร์มสมัครสมาชิกยาวเป็นหางว่าวให้เรากรอก และสมัครช่องทางอื่นไม่ได้ด้วย ผมมั่นใจได้เลยว่าเราจะกดปิดเว็บไซต์นั้นทันที

ระบบ Login ที่ดี ควรมีหลายหลายช่องทาง เช่น Login ผ่านกรอกเมล์กับรหัสผ่าน, ผ่าน social อย่าง Facebook, Line, Gmail หรืออย่างตอนนี้จะมีระบบ Passwordless ที่กำลังได้รับความนิยม คือเราสามารถ Login โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน แค่ใช้เบอร์แล้วกดส่ง OTP ก็เข้าได้แล้ว

13. ความปลอดภัย

เว็บไซต์พื้นฐานทั่วไปเรามักจะใช้ระบบ SSL Let’s Encrypt กันอยู่แล้ว มันก็ปลอดภัยระดับนึง

สำหรับเว็บไซต์ E-commerce ที่มีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ควรทำให้เว็บไซต์ปลอดภัยกว่าปกติ

สิ่งที่ผมแนะนำมี 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ เลือกโฮสติ้งที่มีคุณภาพหน่อย วิธีหา WordPress hosting เรื่องที่สองคือ เช่า SSL แบบเสียเงินที่ปลอดภัยกว่า

14. ระบบ Social Share และ รีวิว

ลำพังเว็บไซต์อาจจะยังไม่พอ ควรมีปุ่ม Social share ด้วย เพื่อให้คนกดแชร์ไปยัง Facebook, Line, Twitter และที่สำคัญกว่านั้นคือ รีวิว ถือว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ลูกค้าสั่งซื้อเลยก็ว่าได้

ลองสังเกตตัวเราเองเวลาเข้าไปซื้อ่ของใน Shopee, Lazada เรามักจะกดดูรีวิวก่อน อันไหนที่ไม่มีรีวิว ยังไม่ต้องซื้อเพราะไม่น่าเชื่อถือ

15. User-Friendly (การออกแบบ UX ที่ดี)

เว็บไซต์ที่ดี ไม่ใช่แค่ต้องสวยอย่างเดียว ถ้าสวยแล้วลูกค้ากลับใช้งานยาก แล้วจะสวยไปทำไมถูกไหมครับ

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ต้องออกแบบตามหลัก UX Design คือ ทุกอย่างที่เราใส่ไป ต้องคำนึงถึงความยากง่ายในการใช้งาน เช่น ข้อความเล็กไปไหม วางปุ่มในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือเปล่า การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล เป็นต้น

กราฟฟิคดีไซน์ ≠UX Designer เพราะคนที่จะออกแบบ UX ได้ดี ต้องได้รับการฝึกสกิลนี้โดยเฉพาะ หรือคนที่เข้าใจหลักการออกแบบเว็บไซต์ตามหลัก UX

ทำไม SME ควรทำเว็บไซต์ E-commerce

สมัยนี้ใครๆ ก็ไปขายกันบนเพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Shopee, Lazada, Facebook, IG, Line ผมเรียกรวมๆ ว่า “ร้านค้าสำเร็จรูป” ซึ่งก็ถูกต้องแล้วครับ แล้วเราจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ E-commerce ของตัวเองอยู่หรือไม่

ข้อดีของ “ร้านค้าสำเร็จรูป” คือ มีคนเข้า-ออกเยอะมากอยู่แล้ว เหมือนเป็นห้างที่มีคนเดินผ่านไปมาตลอดเวลา

แล้วทำไมยังต้องทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของตัวเองละ?
เมื่อเราดำเนินธุรกิจไปถึงจุดจุดนึง แน่นอนว่าเราต้องการขยายให้ใหญ่ขึ้น และต้องการอะไรที่เป็นแบบของเราจริงๆ เช่น

  • ต้องการสร้าง Brand ที่น่าเชื่อถือ
  • เราอยากจะจัด Layout ในแบบของเรา
  • ใส่ภาพสินค้า คำอธิบายได้อย่างอิสระ
  • ใส่ข้อมูลสินค้าพิเศษเฉพาะบางรายการ
  • ใส่เงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่เหมือนใคร
  • ไม่ต้องการจ่ายค่า % แบ่งกับใคร
  • ต้องการ Track ข้อมูลลูกค้าได้ละเอียดยิ่งขึ้น
  • ต้องการออกแบบดีไซน์แบบที่เราชอบ และสอดคล้องกับ CI ของบริษัท

ซึ่งพวกเพลตฟอร์มสำเร็จรูปให้สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง

การทำเว็บไซต์ E-commerce ยังช่วยในเรื่องของ SEO ให้ติด Google โดยแบบ Organic ไม่ต้องเสียเงิน รวมถึงสามารถทำ Content ให้กับแบรนด์ได้ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ยังคงเน้นไปที่การสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง เพราะมันเป็นการสะสม Data ที่เป็ของตัวเอง สามารถนำไป Optimize ต่อได้

ตัวอย่างเว็บไซต์ E-commerce สวยๆ

ข้อดีของการทำเว็บไซต์ E-Commerce คือ

  • เปิดร้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ตัดค่าเช่าตึกหลักหมื่นต่อเดือน เป็นหลักพันต่อปี
  • เว็บ E-Commerce โตไม่สิ้นสุด ไม่มีข้อจำกัด
  • ไม่ต้องมีพนักงานหลายคน แค่มีแอดมินคนเดียวก็พอ
  • ไม่ต้องสต็อคสินค้าเยอะ
  • เช็คสถิติได้ว่าสินค้าตัวไหนขายดีไม่ดี

สรุป

จบทความนี้ เพื่อนๆ น่าจะรู้แล้วว่า เว็บไซต์ E-commerce คืออะไร และมันเป็นเพียงหนึ่งในช่องทางในการขายออนไลน์บนเว็บไซต์ แต่ผมเชื่อว่าเป็นช่องทางที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการพึ่งบ้านของคนอื่นเยอะเกินไปก็มีความเสี่ยง เช่น อยู่ดีๆ เพจ Facebook โดนปิด หรือ Shopee ขึ้นค่า %

ฉะนั้นการมีเว็บไซต์ E-commerce ของตัวเอง อย่างน้อยมั่นใจได้ว่า เรายังมีบ้านหลังเล็กๆ ที่หาลูกค้าให้เราได้เรื่อยๆ


หากชอบบทความแนวนี้ สาระแบบนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยคร้าบบ


About The Author