Woocommerce คืออะไร ใช้ทำเว็บไซต์ E-commerce ดีไหม?

Woocommerce คืออะไร ใช้ทำเว็บไซต์ E-commerce ดีไหม?

ในบทความก่อนหน้า ผมได้เกริ่นไปแล้วว่า เว็บ E-commerce คืออะไร ทำไม SME ควรทำ ในบทความนี้เรามาเจาะลึกกันต่อเกี่ยวกับ Woocommerce คืออะไร

Woocommerce เป็นปลั๊กอินของ WordPress ที่มียอดการใช้งานมาเป็นอันดับ 1 ที่ 20.1% (ณ เดือน 11-2022) ที่มียอดการใช้งานเยอะขนาดนี้ ก็เพราะมันเป็นปลั๊กอินฟรีและดีมากๆ มีฟีเจอร์พื้นฐานแทบจะครบที่จำเป็น ง่ายๆ คือ ถ้าใครใช้ WordPress และต้องการทำเว็บไซต์ E-commerce คงหนีไม่พ้น Woocommerce แน่ๆ เพราะไม่มีตัวอื่นแล้วที่ดีเท่านี้

จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปเลยว่า Woocommerce มันคือ CMS ตัวนึง จริงๆ มันก็แค่เป็นปลั๊กอินตัวนึงของ WordPress มียอดการใช้มากกว่า 5+ ล้านครั้ง

เอาละ ในบทความนี้ ผมจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับปลั๊กอินที่มีนามว่า “Woocommerce” ว่ามันคืออะไร ใช้ทำเว็บไซต์ E-commerce ดีไหม? ผมจะพยามแชร์จากประสบการณ์ส่วนตัวให้มากที่สุดครับ

WooCommerce คืออะไร ?

WooCommerce คืออะไร ?
WooCommerce คืออะไร ?

WooCommerce คือ หนึ่งในปลั๊กอินของ WordPress เป็นโอเพนซอร์สเหมือนกัน เป็นตัวที่เราสามารถสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ หรือ เว็บไซต์ E-commerce ได้ง่ายๆ เพียงแค่เราติดตั้งเวิร์ดเพรสพื้นฐาน ก็สามารถใช้ทุกฟังก์ชันหลักของ WooCommerce ได้แล้ว

เป็นปลั๊กอินที่สามารถเปลี่ยนเว็บไซต์ WordPress ธรรมดาๆ ให้กลายเป็นไซต์อีคอมเมิร์ซได้ในไม่กี่คลิก ด้วยความสามารถที่หลากหลาย ขายสินค้าได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าธรรมดาที่จับต้องได้ สินค้าประเภทไฟล์ดิจิตอล 

 WooCommerce สามารถทำได้ทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์ E-commerce พื้นฐานควรมี เช่น ระบบสมาชิก, การชำระเงิน, การจัดส่ง, การจัดการคลังสินค้า, ระบบรายงานยอดขาย และระบบย่อยอื่นๆ อีกมากมาย

แก่นของ WooCommerce

แก่นของ WooCommerce คือ ฟรี, ยืดหยุ่น, มี Community ขนาดใหญ่ทั่วทุกมุมโลก เมื่อเราใช้ Woo ทำเว็บร้านค้า หมายความว่าเรายังคงเป็นเจ้าของร้านแบบ 100% ไม่เหมือนกับเว็บสำเร็จรูปทั่วไป ที่เราไม่ใช่เจ้าของ เราแค่อาศัย

WooCommerce ทำงานร่วมกับ WordPress ได้อย่างไหลลื่น ไม่มีปัญหา  เพราะว่า WooCommerce มีเจ้าของเดียวกันกับ WordPress นั่นเองครับ ก็ไม่แปลกที่ปลั๊กอินจะออกมาดีและเถสียรขนาดนี้

พาย้อนอดีตไปรู้จัก WooCommerce

WooCommerce เริ่มต้นบริษัทด้วยโปรเจกต์ WooThemes เมื่อปี 2008 ก่อตั้งโดย Mark Forrester, Magnus Jepson, Adii Pienaar ต่อมา James Koster และ Mike Jolley ได้เข้าร่วมทีมเพื่อทำงานในโปรเจกต์ WooCommerce

3 ผู้ก่อตั้ง WooTheme / WooCommerce
3 ผู้ก่อตั้ง WooTheme / WooCommerce

WooCommerce รุ่นแรกเปิดตัวเมื่อปี 2011 และได้รับความนิยมทันที มียอดดาว์นโหลด 1 ล้านครั้งภายใน 2 ปี และเมื่อปี 2014 มียอดดาว์นโหลดมากถึง 4 ล้านครั้ง

WooCommerce เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนไปเข้าตาบริษัท Automattic ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้ง WordPress นั้นเองครับ ในปี 2015 บริษัท Automattic ได้เข้าซื้อบริษัท WooThemes และได้รีแบรนด์จาก WooThemes เป็นชื่อ WooCommerce อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบัน WooCommerce ได้ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง สามารถสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเองได้อย่างอิสระ 

ในปี 2022 WooCommerce มีคนใช้มากกว่า 24% อันดับที่ 1 ของเพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ เหนือกว่า Shopify, Magento, Wix, OpenCart โดยมีทีมพัฒนาผู้อยู่เบื้องหลัง เช่น 3 ผู้ก่อตั้งในประเทศ นอร์เวย์ และอีกมากกว่า 150 ทีม จาก 32 ประเทศ

WooCommerce ดีไหม? 5 ข้อดี ของ WooCommerce

WooCommerce เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2011 เหมือนประมาณ 11 ปีที่แล้ว ซึ่งนับว่านานมากๆ มียอดดาว์นโหลดทั้งหมดประมาณ 161 ล้านครั้ง เรามาาเจาะลึกด้วยกันว่า อะไรถึงทำให้ WooCommerce ยอดนิยมทั่วโลกขนาดนี้

1. ฟรีและติดตั้งง่าย

WooCommerce
WooCommerce

การติดตั้งปลั๊กอิน WooCommerce ก็เหมือนติดตั้งปลั๊กอินทั่วไปครับ เราจะดาว์นโหลดผ่านหลังบ้าน หรือ จะโหลดผ่านเว็บไซต์ WordPress.org โดยตรงก็ได้ครับ

พอติดตั้งเสร็จแล้ว ก็จะมีระบบนำทางการติดตั้ง หรือ Wizard ช่วยไกด์ให้เราว่าต้องตั้งค่าพื้นฐานอะไรบ้าง ซึ่งผมว่าดีมากครับสำหรับมือใหม่ เพราะถ้าเทียบกับปลั๊กอินอื่นๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีระบบนี้ช่วยเลย

2. มีฟังก์ชันการใช้งานครบ

เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ ง่ายๆ ด้วย Plugin
เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ ง่ายๆ ด้วย Plugin

เว็บไซต์ E-commerce จะมีฟังก์ชันที่คล้ายๆ กัน หรือเรียกว่าฟังก์ชันพื้นฐานที่เว็บไซต์ร้านค้าควรมี คือถ้าไม่มีบางข้อ ก็อาจจะทำให้ถึงขั้นปิดการขายไม่ได้ เช่น การโอนเงิน ลูกค้าบางคนอาจจะอยากตัดผ่านบัตร แต่ถ้าเว็บเราไม่มี ก็เสียลูกค้าได้

  • สร้างเว็บไซต์ร้านค้าที่สวยงามได้ เพราะมี Theme ที่รองรับ WooCommerce  เยอะมากๆ ธีมส่วนใหญ่มักจะทำฟีเจอร์สำหรับ Woo โดยเฉพาะ
  • เพิ่มยอดขายด้วยขั้นตอนการสั่งซื้อที่เรียบง่าย : เราสามารถปรับแต่งหน้า Cart, Checkout, Thank you page ได้
  • ปรับแต่งหน้าสินค้าได้อย่างอิสระ
  • ประเภทสินค้า : ลงสินค้าได้หลายประเภท เช่น สินค้าจับต้องได้, สินค้าดิจิตอล, สินค้าหลายตัวเลือก เป็นต้น
  • ระบบหลังบ้าน : มีระบบที่ควรมีครบ เช่น ระบบสต็อค, ระบบรายงาน,​ตั้งค่าการจัดส่ง, ตั้งค่าการชำระเงิน ฯลฯ
  • และยังมีระบบอื่นๆ ที่ผมยังไม่ได้พูดถึงอีกเยอะครับ ผมจะสรุปให้ในข้อถัดไปครับ

3. เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ ง่ายๆ ด้วย Plugin

เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ ง่ายๆ ด้วย Plugin
เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ ง่ายๆ ด้วย Plugin

ข้อดีของ Open-source คือจะมีนักพัฒนาทั่วโลกต่างกันช่วยพัฒนาให้มันดีขึ้น พัฒนา Plugin เสริมเจ๋งๆ ออกมาให้ใช้กัน มีแทบทุกฟีเจอร์เท่าที่เรานึกได้ โดยที่เราไม่ต้องไปจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาเอง

Woo ตัวพื้นฐานที่เราโหลดมาก็มีฟีเจอร์การทำงานครบเครื่องอยู่แล้วเท่าที่จำเป็น แต่มันจะมีบางเว็บไซต์ที่เราต้องการฟังก์ชันพิเศษ โจทย์ที่ต่างจากปกติ

เช่น ถ้าเราต้องการ Custom การคำนวณค่าจัดส่งที่ซับซ้อนกว่าปกติ เราอาจจะต้องติดตั้งปลั๊กอิน Table rate shipping

ถ้าเราต้องการสร้างคูปองที่สวยกว่าเดิม ตั้งค่าได้มากขึ้น ก็อาจจะต้องติดตั้งปลั๊กอิน Smart Coupons

แหล่งหาซื้อปลั๊กอินสำหรับ Woo มีหลายแหล่งครับ

  • ซื้อจากเว็บไซต์ WooCommerce โดยตรง : ข้อดีคือเราจะได้ปลั๊กอินที่เสถียร ทำงานกับ Woo ได้อย่างลงตัว แต่แอบแพงไปหน่อย
  • ซื้อจาก Themeforest : ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขาย Theme และ Plugin ที่ใหญ่ที่สุด
  • และซื้อจากเว็บไซต์แหล่งขายปลั๊กอินอื่นๆ แต่ผมแนะนำ 2 แหล่งด้านบนครับ ปลอดภัย

4. รองรับการทำ SEO เต็มรูปแบบ

รับทำเว็บไซต์รองรับมือถือ รองรับ SEO อันดับดี
รองรับการทำ SEO เต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ จะขายดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า คนรู้จักเว็บเรามากน้อยแค่ไหน, เว็บไซต์ติด SEO หน้าแรก Google หรือเปล่า หรือไม่ก็เน้นยิงแอด

สำหรับเว็บไซต์ที่พึ่งเปิดใหม่ หรือยังไม่มีคนรู้จักเลย อาจจะยังไม่ได้มีงบมากพอที่จะไปยิงแอดสู้กับเจ้าตลาด

ฉะนั้นมีอยู่วิธีเดียวที่ทำได้ไม่ยากมากคือ การทำ SEO ซึ่งโชคดีที่ WordPress และ WooCommerce มีการออกแบบโครงสร้างที่ถูกต้องตามหลัก SEO อยู่แล้ว ยังรองรับการใช้งานร่วมกับปลั๊กอิน SEO อีกด้วย ทำให้เหลือแค่ทำ Content ดีๆ ก็ติดอันดับหน้าแรกได้ไม่ยากแล้วครับ

ไม่จำเป็นต้องไปจ้างนักทำ SEO แพงๆ ก็ติดหน้าแรกด้วยตัวเองได้ครับ

5. เวลาเว็บมีปัญหา หาคนแก้ได้ง่าย

เวลาเว็บมีปัญหา หาคนแก้ได้ง่าย
เวลาเว็บมีปัญหา หาคนแก้ได้ง่าย

เชื่อไหมครับ ในประเทศไทยเองมีคนใช้ WordPress, WooCommerce เยอะมากๆ ในวงการเว็บ ถ้าใครไม่รู้จักถือว่าเชย เพราะคนนอกวงการยังรู้เลย อย่างน้อยก็เคยได้ยินชื่อบ้างแหละ

WordPress, WooCommerce เป็นเพลตฟอร์มที่คนไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำได้ครับ เพราะทุกอย่างสามารถทำด้วยวิธี Drag & Drop ไม่ต้องแตะโค้ดเลย ทำให้ตลาดนี้ เป็นตลาดที่ใหญ่

พอคนใช้เยอะ ฝั่งนักพัฒนาก็เยอะครับ เวลามีปัญหา ก็หาคนมาแก้ต่อได้ง่ายมาก แต่ก็แนะนำว่าให้หาคนที่เชี่ยวชาญด้าน WordPress โดยตรง และคนที่รับทำเว็บไซต์ WooCommerce มานาน เพราะเวลามีปัญหาเค้าจะรู้จุดแก้ที่ถูกต้อง และไม่มีปัญหาภายหลัง

สรุปฟังก์ชันหลักๆ ของ WooCommerce

ฟังก์ชัน WooCommerce ฝั่งหน้าเว็บ (Front-end)

ผมยกตัวอย่างฟังก์ชันหลักๆ ของเว็บไซต์ E-Commerce ที่ใช้กันบ่อยๆ บางฟังก์ชันอาจจะต้องติดตั้งปลั๊กอินเสริมเพิ่มนิดหน่อยครับ

ระบบแสดงรายการสินค้า (Products list) 

ระบบแบ่งหมวดหมู่สินค้า (Categories)

ระบบดูสินค้าแบบรวดเร็ว (Quick view) 

ระบบเปรียบเทียบสินค้า (Compare)

ระบบเลือกสินค้าที่ชอบ (Add to Wishlist)

ระบบแสดงรูปภาพสินค้าแบบแกลอรี่

แสดงสินค้ายอดนิยม (Best Products)

แสดงสินค้าขายดี (Best Seller)

ตัวเลือกสินค้า เช่น Colorl, Size

สินค้าที่เกี่ยวข้อง (Related product)

ระบบ Register / Login

ระบบให้คะแนนสินค้า (Rating)

ระบบตะกร้าสินค้า (Cart)

ระบบคูปอง (Coupon)

ระบบแสดงราคาส่วนลด (Discount) 

ระบบเลือกวิธีขนส่ง (Shipping)

การโอนเงิน, Payment gateway

ระบบค้นหาสินค้า (Product search)

ระบบแจ้งการโอนเงิน

ตั้งค่าจำนวนสั่งซื้อขั้นต่ำ

ระบบเช็ค Order, Tracking

ฟังก์ชัน WooCommerce ฝั่งหลังบ้าน (Back-end)

ฟังก์ชันในระบบหลังบ้านของ WooCommerce ผมขอยกตัวอย่างส่วนหนึ่งครับ อาจจะไม่ได้บอกละเอียดทุกข้อ แต่ระบบหลักๆ ที่จำเป็นมีค่อนข้างครบ หากต้องการฟีเจอร์เสริม ก็สามารถติดตั้งปลั๊กอินเสริมได้ครับ

ระบบจัดการ Stock

ระบบจัดการ Order

ระบบรายงานการขาย

ระบบตั้งค่า Payment และ การขนส่ง

ระบบรับสลิปการชำระเงิน

การเชื่อมต่อกับ Api ภายนอก

เชื่อมต่อ Tracking code ต่างๆ

ระบบส่งข้อความไปยังลูกค้า

ระบบให้คะแนนสินค้า (Rating)

ระบบตะกร้าสินค้า (Cart)

ระบบคูปอง (Coupon)

ระบบแสดงราคาส่วนลด (Discount) 

ระบบเลือกวิธีขนส่ง (Shipping)

Payment gateway

ระบบค้นหาสินค้า (Product search)

ระบบแจ้งการโอนเงิน

เริ่มต้นทำเว็บไซต์ E-commerce ด้วย WooCommerce

อย่างที่ทราบว่า WooCommerce เป็นหนึ่งใน Plugin ของ WordPress ฉะนั้นก่อนที่จะใช้ได้ ก็ต้องติดตั้ง WordPress พื้นฐานก่อน 

1. เช่า Domain และ Hosting

ก่อนที่เราจะติดตั้ง WordPress เราต้องมีชื่อ Domain และ Hosting ก่อนครับ

และผมยังเขียนสรุป Hosting ที่รู้ใจ wordpress ตามบทความนี้ครับ
WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด

2. ติดตั้ง WordPress

การติดตั้ง WordPress ทำได้หลายวิธีครับ เช่น ติดตั้งผ่าน Hosting Panel, ติดตั้งผ่าน FTP แบบ Manual ซึ่งถ้ามือใหม่ ผมแนะนำให้ติดตั้งผ่าน Hosting Panel ง่ายสุดครับ

3. ติดตั้ง WooCommerce

ติดตั้ง Plugin WooCommerce ผ่านหลังบ้าน ให้คลิกที่เมนู Plugins > Add New > แล้วกรอกค้นหา “WooCommerce

ติดตั้ง Plugin  WooCommerce
ติดตั้ง Plugin WooCommerce

สรุป

WooCommerce ทำให้การสร้างเว็บไซต์ E-Commerce เป็นเรื่องง่าย ยืดหยุ่น และทำงานร่วมกับ WordPress ได้อย่างไหลลื่น ไม่แปลกที่ Woo เป็นปลั๊กอิน WordPress ที่ยอดนิยมอันดับต้นๆ จากวันที่เปิดตัวปี 2011 ถึงวันนี้ ปี 2022 ก็ 11 ปีเข้าไปแล้ว

หากเพื่อนๆ สนใจทำเว็บไซต์ E-Commerce ด้วย WooCommerce ทักมาปรึกษาผมได้ครับ ผมยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ให้ครับ


หากชอบบทความแนวนี้ สาระแบบนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยคร้าบบ


เครดิต

  • https://wpastra.com/woocommerce-tutorial/what-is-woocommerce/
  • https://woocommerce.com/about/
  • https://wordpress.org/plugins/woocommerce/
  • https://barn2.com/woocommerce-stats/

About The Author