WordPress Hosting ที่ไหนดี? แนะนำ (จากประสบการณ์จริง)

WordPress Hosting ที่ไหนดี? แนะนำจากประสบการณ์จริง

ผมสังเกตจากใน Group FB และ ใน Google Search มีคนถาม คำถามนี้เยอะมาก เช่น WordPress Hosting ที่ไหนดี, WordPress Hosting แนะนำ, หรือ Host … ดีไหม ก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้

เว็บไซต์ จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อถูกติดตั้งลงบน เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ฉะนั้นการเลือกประเภทโฮสติ้งก็สำคัญไม่แพ้การทำเว็บ เพราะหากเลือกเจ้าไม่ดี อาจจะทำให้เว็บไซต์ไม่มีคุณภาพเลยก็ได้ โดยเฉพาะคนที่ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ซึ่งจำเป็นต้องเลือกโฮสติ้งที่รองรับ หรือที่เรียกว่า WordPress Hosting เพราะบางโฮสติ้ง ถ้าไม่รองรับเวิร์ดเพรส อาจจะทำให้เว็บไซต์มีปัญหา

Web Hosting คืออะไร?

Web Hosting คืออะไร?
Web Hosting คืออะไร?

เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ของเว็บไซต์บนเซิฟเวอร์ ที่เรียกว่า Web Server ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา โดยที่ต้องเชื่อม โดเมนเนม หรือ ชื่อเว็บไซต์ ลิงค์กับ เว็บโฮสติ้ง เข้าด้วยกัน เว็บไซต์จึงจะสามารถออนไลน์ได้

จินตนาการง่ายๆ Domain เป็นบ้านเลขที่ และ Hosting เป็นบ้าน ทั้งสองอย่างต้องเชื่อมกัน ทุกบ้านต้องมีบ้านเลขที่ ฉะนั้น ทุกเว็บไซต์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ต้องการเว็บโฮสติ้ง

รู้จักประเภท Hosting

รู้จักประเภทของ Web Hosting
ประเภทของ Web Hosting

1. Share Hosting / แชร์โฮสติ้ง

Share Hosting / แชร์โฮสติ้ง
Share Hosting / แชร์โฮสติ้ง

Share Hosting คือ เว็บโฮสติ้งที่แบ่งกันใช้หลายเว็บไซต์ใชเครื่อง Server เดียวกัน เป็นประเภทโฮสติ้งที่ได้รับความนิยมสูงสุด ราคาถูกที่สุด เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เว็บไซต์บริษัททั่วไป ที่ไม่ได้มียอดวิวสูงมาก

ข้อดีของ Share Hosting

  • ราคาถูกมาก ตั้งแต่ 500 – 3,500 / ปี
  • มีแพคเกจให้เลือกเยอะ ใช้ง่าย ไม่ต้องตั้งค่าเอง
  • บริหารจัดการโฮสติ้งผ่านระบบ Control Panel ใช้ง่ายมาก
  • ไม่ต้องห่วงเรื่องการดูแล เพราะบริษัทโฮสจัดการให้ทุกอย่าง
  • ติดตั้ง WordPress ได้ง่ายๆ ผ่าน Control Panel

ข้อเสียของ Share Hosting

  • ถูกแบ่งกันใช้หลายเว็บไซต์ ทำให้โหลดช้า
  • หากมีเว็บใดเว็บหนึ่งใช้งานหนักเกินไป อาจจะกระทบกับเว็บไซต์เราด้วย
  • ยิ่งมียอดวิวสูงขึ้น เว็บยิ่งช้า เพราะแบ่งกันใช้
  • ปรับแต่งอะไรได้ไม่เยอะในแง่ของประสิทธิภาพ

Share Hosting เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก พึ่งเริ่มต้น งบไม่เยอะ ใช้งานง่าย

2. VPS Hosting / วีพีเอส

VPS Hosting / วีพีเอส
VPS Hosting / วีพีเอส

ปัญหาใหญ่ของ Share Hosting คือ มีการแชร์การใช้ทรัพยากร หรือแบ่งกันใช้พื้นที่ หากเว็บใดเว็บนึงมีปัญหา ก็ย่อมส่งผลกระทบอีกหลายๆ เว็บไซต์ที่อยู่บนโฮสติ้งเดียวกัน

การมาของ VPS Hosting เพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ ถึงแม่ว่า VPS จะมีการใช้ร่วมกันหลายๆ คน แต่ที่พิเศษคือ

เครื่อง Server จริง 1 เครื่อง จะถูกแบ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กๆ แต่ทำงานได้เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ไม่จำเป็นต้องแบ่งกันใช้ทรัพยากร หรือ พื้นที่ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการตั้งค่าและการดูแล

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ เป็นเว็บโฮสติ้งลูกผสมระหว่าง Share Hosting กับ Dedicated hosting

ข้อดีของ VPS Hosting

  • เหมือนได้ Server จริง ไม่ต้องแบ่งกันใช้
  • เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น รองรับได้มากขึ้น
  • อัพเกรดสเปคได้ตลอดเวลา
  • ควบคุมได้ทุกอย่าง

ข้อเสียของ VPS Hosting

  • ราคาแพงกว่า แชร์โฮสติ้งทั่วไป
  • การ Config หรือ Setting ต้องรู้ไอทีพอสมควร
  • ควบคุมได้ทุกอย่าง แต่ไม่เท่า Dedicated hosting

VPS Hosting เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก-ถึงกลาง ที่ต้องการความสเถียรมากขึ้น โหลดเร็วขึ้น

3. Dedicated hosting

Dedicated hosting
Dedicated hosting

Dedicated hosting คือ เซิร์ฟเชอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง รองรับการเข้าใช้งานพร้อมๆ กันได้เยอะ ไม่ต้องแชร์ทรัพยากรกับคนอื่น สามารถปรับแต่ง Config ได้ทุกอย่าง ยืดหยุ่นสูงมาก สิทธิ์การเข้าถึงเป็นของเราผู้เดียว แต่คนดูแลก็ต้องมีความรู้ด้านเทคนิคสูงมากเช่นกัน

ข้อดีของ Dedicated hosting

  • เป็นเจ้าของ 100% ไม่ต้องแบ่งใช้กับใคร
  • ยืดหยุ่นสูง สามารถ Customize ได้ตามใจต้องการ
  • รองรับ Traffic หรือยอดวิวได้เยอะ
  • มีความปลอดภัยสูง

ข้อเสียของ Dedicated hosting

  • ราคา Dedicated hosting อยู่ที่หลักหลายหมื่น (แพงมาก)
  • ดูแล ปรับแต่ง บำรุง ด้วยตัวเอง ฉะนั้นต้องเชี่ยวชาญด้านนี้

Dedicated hosting เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ บริษัทใหญ่ที่มีงบที่จะจ่ายได้ เว็บไซต์ที่มีคนเข้าต่อวันหลักหมื่นอัพ.

4. Cloud hosting

Cloud hosting
Cloud hosting

Cloud hosting คือ Cloud Technology หรือ การทำงานในรูปแบบก้อนเมฆ เป็นการนำเครื่อง Server หลายๆ เครื่อง มาซิงค์ข้อมูลซึ่งกันและกัน หากมีเครื่องใดเครื่องนึงเสียหาย หรือเกิดดับกระทันหัน ก็จะมีเครื่องอื่นๆ คอยรับช่วงต่อแทน ทำให้เป็นโฮสติ้งที่มีความเสถียรสูงมากที่สุด Down time 0%

หากเป็นโฮสประเภท Dedicated ถ้าเสียขึ้นมา จำเป็นต้องซ่อมก่อนถึงจะออนไลน์ได้อีกครั้ง ส่งผลเสียอย่างมาก สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเว็บไซต์พวกร้านค้าออนไลน์ ที่ล่มไม่ได้แม่แต่วินาทีเดียว

ทำให้ช่วงหลัง Cloud hosting ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นโฮสติ้งที่มีความเสถียร ไม่ล่ม มีความน่าเชื่อถือ วางใจได้

ตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น Google Cloud, Digital Ocean, Linode, VULTR, AWS และล่าสุด Alibaba cloud

ที่ผมกล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่แล้ว ใช้งานยากสำหรับคนทั่วไป ต้องรู้เทคนิคพอสมควร แต่ถ้าใครอยากใช้ Cloud hosting พวกนี้แต่ใช้ไม่เป็น ผมมีทางออกให้ครับ

CloudWays ได้เจ้าที่รวบรวม 6 Cloud จากเจ้าดังๆ รวมไว้ที่เดียว จุดเด่นคือ มันสร้างระบบการจัดการ หรือ Control Panel ที่ง่ายมาก Go Live ได้ไม่ถึงนาที

  • ทีมซัพพอร์ต 24ชม. ตลอด 365 วัน
  • ใช้แค่ใหน จ่ายแค่นั้น
  • ครั้งแรก ทีม Cloudways ย้ายให้ฟรี
  • Free SSL ติดตั้งง่ายซะด้วย
  • ไม่มีสัญหาผูกมัด ไม่ใช้ก็หยุดจ่าย
  • รองรับ Applications ไม่จำกัด

ส่วนตัว เคยใช้ Cloudways มาแล้ว จ่ายตามจริง, ทีม Support เก่งจริง, ใช้ง่ายจริง, และ เค้าได้ Optimize ให้รองรับ WordPress ได้ดี ทำให้เว็บโหลดเร็ว

ถ้าสนใจสั่งซื้อ Cloud hosting ของ Cloudways คลิกลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

Cloud hosting เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน?

  • เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาด กลาง-ใหญ่
  • เว็บไซต์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง
  • เว็บไซต์ที่ล่มไม่ได้ ถ้าล่มจะเสียหาย เช่น e-commerce

ข้อดีของ Cloud hosting

  • Down time 0% ไม่ล่ม และเสถียร
  • ปรับสเปคได้ตามต้องการ คิดราคาตามสเปคที่เลือก
  • ควบคุมได้ดั่งใจ เหมือนมีเซิรฟ์เวอร์ของตัวเองนั้นแหละ

ข้อเสียของ Cloud hosting

  • ใช้งานยากสำหรับคนทั่วไป
  • ราคาแพง
  • Cloud ดังๆ ส่วนใหญ่เป็นฝรั่ง เวลามีปัญหาก็ต้องสื่อสารอังกฤษ

Cloud hosting เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ต้องการความเสถียรสูง ควบคุมได้ทุกส่วน

WordPress Hosting แตกต่างจากโฮสติ้งทั่วไปอย่างไร?

เป็น Hosting ที่ปรับแต่งให้รองรับเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress โดยเฉพาะ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เสถียร สเปคของโฮสติ้งถูกติดตั้งให้เข้ากับความต้องการของ WordPress ทำให้เวลา ติดตั้ง อัพเดต จะไม่มีปัญหาใดๆ

จากประสบการณ์ที่เคยใช้ Hosting ทั่วไปที่ไม่รองรับ WordPress มักจะมีปัญหาตั้งแต่ติดตั้ง การตั้งค่าต่างๆ การอัพเดตปลั๊กอิน ปัญหาด้านความปลอดภัย ถึงแม้ราคาอาจจะถูกกว่า แต่ถ้าต้องมาเจอปัญหาที่น่าปวดหัว ก็ไม่คุ้ม!

ความต้องการของ WordPress

  • รองรับ PHP version 7.3 หรือมากกว่า.
  • รองรับ MySQL version 5.6 หรือมากกว่า OR MariaDB version 10.1 หรือมากกว่า .
  • รองรับ HTTPS
  • อ้างอิงจาก WordPress.org โดยตรง

ทาง WordPress เองก็ไม่ถึงกับบังคับว่า ต้องมีสเปคตามนั้น แต่ เค้าแนะนำเพื่อความปลอดภัยมากกว่า

หากใครที่ยังใช้ PHP รุ่นเก่า หรือ ไม่ได้ติดตั้ง SSL(https) เว็บไซต์ยังทำงานได้ปกตินะ แต่สุ่มเสี่ยงมากที่จะโดน Hack เว็บที่โอน ส่วนใหญ่มาจากการที่ยังใช้ PHP รุ่นเก่า หรือไม่ได้อัพเดต WordPress และ Plugins มานาน ก็ไม่แปลกนะที่จะโอน Hack เข้าสักวัน ผมเคยอธิบายในบทความ WordPress โดน Hack! วิธีป้องกัน ลองกลับไปศึกษากันดูครับ

ข้อดี

  • ติดตั้ง WordPress ในไม่กี่คลิก
  • ถูกปรับจูนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • ความปลอดภัยดีกว่าโฮสทั่วไป
  • ส่วนใหญ่มีระบบ Cache ที่ดี ทำให้เว็บโหลดไวมาก
  • ไม่มีปัญหาน่าปวดหัว เวลาจะอัพเดตต่างๆ

อย่าง Cloudways ที่ผมเคยใช้มา ทำให้เว็บโหลดเร็วมาก เพราะเค้าเก่งเรื่องการจูนเรื่อง Cache หากสนใจ ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ครับ รายละเอียด Cloudways

เลือกแพคเกจไหนดี?

แพคเกจราคาเว็บโฮสติ้ง มีร้อยแปดพันเก้า มีสเปคย่อยๆ เยอะมากมาย อย่าพึ่งไปสนใจว่า จะเลือกแพคเกจไหน สเปคอย่างไร แต่ให้กลับมามองที่ตัวเราก่อนว่า

เว็บไซต์เราทำเกี่ยวกับอะไร เว็บประเภทใหน ต้องใช้พื้นที่เคร่าๆ ประมาณกี่ GB(กิ๊ก) เช่น หากเป็นเว็บไซต์บริษัทธรรมดา 1GB ก็เยอะมากแล้ว แต่ถ้าเป็นแนวร้านค้าออนไลน์ หรือ e-commerce อาจจะต้องเผื่ออย่างต่ำสัก 10GB ขึ้นไป

ผมขอสรุป พื้นที่เว็บไซต์ ของเว็บไซต์แต่ละประเภท แบบเผื่อเหลือเผื่อขาด

  • เว็บไซต์บริษัททั่วไป ข้อมูลธรรมดา : ประมาณ 1-5GB
  • เว็บไซต์ สมัครงาน, แคตตาล็อคออนไลน์, ร้านค้าขนาดเล็ก 5-10GB
  • เว็บไซต์ E-commerce ขนาดใหญ่ 100GB+
  • เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ 20GB+

สิ่งที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม

  • มี SSL แบบ Free ให้เลือกใช้ไหม?
  • ระบบ Control Panel : ส่วนใหญ่จะเป็นพวก Direct Admin, Plesk, cPanel ใช้งานง่าย
  • ต้องมี PHP อย่างต่ำ 7.2 ขึ้นไป (แนะนำ)
  • บริการหลังการขาย ต้องไว

ตัวอย่างแพคเกจ WordPress Hosting จาก SiteGround มันมีให้เราเลือกจ่าย Hosting รายเดือน กับ รายปี

แพคเกจ WordPress Hosting ของ SiteGround
แพคเกจ WordPress Hosting ของ SiteGround

แพคเกจ StarUP : สำหรับ 1 เว็บไซต์ ให้พื้นที่ 10GB คนเข้าเฉลี่ย 10,000/เดือน เหมาะสำหรับเว็บไซต์บริษัทธรรมดาทั่วป
แพคเกจ GrowBig : ไม่จำกัด ให้พื้นที่ 20GB คนเข้าเฉลี่ย 25,000/เดือน เหมาะสำหรับเว็บไซต์ e-commerce ไซส์ไม่ใหญ่มาก หรือเว็บไซต์ที่มีข้อมูลรูปภาพค่อนข้างเยอะ
แพคเกจ GoGeek : ให้พื้นที่ 30GB คนเข้าเฉลี่ย 100,000/เดือน เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดกลาง-ใหญ่

จริงๆ แล้วแพคเกจใหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาด และรูปแบบเว็บไซต์ของเรา เริ่มต้น อาจจะเริ่มที่แพคเกจต่ำสุดก่อน ถ้าไม่พอ ค่อยอัพเกรดได้ครับ

ควรเลือกที่พื้นที่ก่อน และพิจารณาฟีเจอร์เพิ่มเติม ว่าเค้าให้อะไรเราบ้าง ตามที่ผมได้ลิสไว้ข้างต้น

Hosting ที่เราแนะนำ (จากประสบการณ์จริง)

1. Siteground

แนะนำ Siteground เป็นอันดับแรก เพราะว่าเว็บไซต์ teeneeweb.com และเว็บไซต์บริษัทผมอย่าง slatans.com ก็ใช้โฮสนี้ (ก่อนหน้าใช้โฮสไทย เดี๋ยวมาเล่าว่า ทำไมถึงเปลี่ยนใช้โฮสฝรั่ง ทั้งๆ ที่แพงกว่า) จากประสบการณ์ที่ใช้อยู่ตอนนี้ ผมให้โฮสเจ้านี้ 5 Start เลยละ

หลักๆ เค้าให้เลือก 4 Web Hosting คือ Web Hosting, WordPress Hosting, WooCommerce Hosting, Cloud Hosting

Siteground Hosting
Siteground Hosting

แค่เลือกแพลนที่ตรงกับเว็บไซต์เรา ถ้าเป็นเว็บไซต์ WordPress ธรรมดาก็เลือก WordPress Hosting แต่ถ้าเป็นร้านค้าออนไลน์ที่พัฒนาด้วย WooCommerce ก็เลือก WooCommerce Hosting ถ้าสั่งซื้อเรียบร้อย เราก็จะได้ระบบควบคุม หรือ Control Panel ที่เค้าพัฒนามาโดยเฉพาะ ซึ่งใช้ง่ายมากๆ

ถ้าใครติดปัญหาเรื่องการสั่งซื้อ ทักปรึกษาได้ครับ

2. Cloudways

Cloudways Hosting

เป็น Managed Cloud Hosting Platform ที่รวบรวม Cloud Hosting เจ้าดังๆ ไว้ที่เดียว เช่น Digital Ocean, AWS, Google Cloud, Linode, VULTR สามารถเลือกแพคเกจได้อิสระ ตามสเปคที่ต้องการใช้งานจริง

เป็นโฮสที่มี Control Panel ใช้ง่ายมากๆ ยืดหยุ่นสูง ไม่จำเป็นต้องเก่งเทคนิค คนทั่วไปรับประกันว่าใช้งานได้เลย ติดตรงไหน ถามตรงทีม Support ได้ตลอด 24ชม.

ที่เคยลองใช้กับเว็บไซต์ของลูกค้า ถือว่าเร็วพอสมควร และได้ยินมาว่า เจ้า Cloudways เค้าเทพเรื่องจูนแคช (Cache) ทำให้เว็บโหลดเร็ว

3. RUK-COM

Ruk Com Hosting

เป็นเว็บโฮสติ้งไทย ที่ลูกค้าผมเลือกใช้ซะส่วนใหญ่ เพราะด้วยราคาไม่แพง เริ่มต้นแค่ 599/ปี และส่วนใหญ่มีงบประมาณกลางๆ ใช้กับเว็บไซต์ขนาดเล็ก ก็ดีระดับนึง

ในแง่ของคุณภาพ ใช้ได้เลยครับ ถ้าไปดูตามกลุ่มต่างๆ มีคนใช้และเชียร์เยอะพอสมควร มีแพคเกจให้เลือกหลากหลายมาก ตั้งแต่ Cloud Web Hosting, Cloud WordPress Hosting และ Cloud VPS Hosting

บริการหลังกาารขาย หรือ Support มี 24ชม. เช่นกันครับ ส่วนใหญ่จะเน้นถาม-ตอบผ่านระบบ Ticket มากกว่า หากทีมงานตอบช้าเกินรอ ก็อาจจะทักทาง Line@ หรือ โทรโดยตรง ก็มีทีมงานคอยรับสายด่วนตลอดเวลา

ผมแนะนำ 3 เจ้า ที่ผมเคยใช้กับตัวเองจริงๆ หากมีงบหน่อย ก็ไปโฮสติ้งต่างประเทศอย่าง Siteground กับ Cloudways แต่หากงบน้อยๆ แนะนำ Ruk-Com ก็ใช้ได้ดี

สำหรับเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress และต้องการย้ายโฮสติ้ง จากเก่าไปใหม่ ลองอ่านบทความ วิธีย้ายเว็บไซต์ WordPress ด้วย All-In-One WP Migration

สิ่งที่ควรรู้ ก่อนที่จะเช่า หรือซื้อโฮสติ้ง

1) สเปคของโฮสติ้งภาพรวม

  • รองรับได้กี่เว็บไซต์ หรือ กี่ Domain
  • ขนาดพื้นที่กี่ GB
  • มี PHP version เท่าไหร่ แต่แนะนำ 7.x ขึ้นไป
  • มี Control Panel ไหม? เช่น Direct Admin, Plesk, cPanel etc… *แต่ส่วนใหญ่มีให้
  • เลือกประเภทโฮสติ้งให้ถูก ให้ย้อนกลับไปอ่านด้านบนครับ

2) คุณภาพของโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง ไม่ว่าในไทยเอง หรือต่างประเทศ ก็มีทั้งคุณภาพเยี่ยม จนถึงคุณภาพแย่ๆ บางเจ้าราคาถูกมาก และล่มบ่อยมากด้วย ฉะนั้นอย่าเลือกแต่ราคาถูก ให้เลือกที่คุณภาพมาก่อน น่าจะดีกว่าครับ แต่ถ้าเป็นโฮสติ้งที่ผมแนะนำด้านบน ผมแนะนำจากที่เคยใช้จริง และมันดีจริงๆ เรียงลำดับ

3) Support หลังการขาย

ข้อนี้สำคัญที่สุด คนส่วนใหญ่อาจจะมองที่ราคาและสเปคของโฮสติ้งเป็นหลัก แต่จากประสบการณ์ล้ว ผมว่า Support สำคัญกว่าสิ่งอื่นใด เพราะเวลาโฮสติ้งมีปัญหา ทีม Support ต้องคอยช่วยเหลือเรา

บางเจ้าในไทยที่ผมเคยใช้ โพส ticket ไปทีนึง รอหลายชั่วโมงกว่าจะได้รับคำตอบ ซึ่งเราไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ยิ่งเว็บที่เกี่ยวกับงานขายของโดยตรง เว็บใช้งานไม่ได้หลายชม. เท่ากับสูญเสียไปหลักหมื่นก็เป็นได้

เว็บโฮสติ้งต่างประเทศที่ผมใช้อยู่ อย่างเช่น Siteground และ Cloudways ผมการันตีได้เลยว่าทีม Support เค้าดีจริง เค้าเคลมว่าให้บริการ 24 ชั่วโมง ก็จริงตามนั้นครับ และที่สะดวกกว่าคือ มีระบบ LiveChat ทำให้เราทักตามวิศวะกรเทพๆ ได้ทันที แก้ปัญหาได้ทันที

เพราะฉะนั้นแล้ว อย่าลืมพิจารณาข้อนี้ด้วยครับ ถ้าไม่อยากผิดหวังในระยะยาว

Hosting ราคาถูก VS Hosting ราคาแพง ต่างกันอย่างไร?

Hosting ราคาถูก

โฮสติ้งราคาถูก แบบถูกมากๆ ที่เคยเจอ คือ ร้อยกว่าบาท/ปี ส่วนใหญ่หลายๆเจ้าเริ่มต้นที่ 500 บาทก็มี ได้พื้นที่ตั้งแต่ 5BG ขึ้นไป สเปคก็ไม่ได้ต่างอะไรกับโฮสติ้งราคาแพงๆ

แต่อย่าไปคิดว่า ได้สเปคแรงแล้วคุณภาพจะดี ไหลลื่น ส่วนใหญ่ที่เจอมา ราคา = คุณภาพ ราคาถูก ก็จะได้คุณภาพสมราคา ใช้งานได้ระดับนึง แต่ถ้าอยากได้คุณภาพแรงๆ คงหาจากราคาถูกยาก

คล้ายๆ กับรถยนต์ ราคาถูก ก็ได้สปีดแรงม้าน้อยไปได้ตามราคาที่เค้าประกาศ

Hosting ราคาแพง

เริ่มต้นหลักหลายพัน จนถึงหลักแสน อย่าง Siteground ที่ teeneeweb ใช้อยู่ ก็ใช้แพคเกจกลางๆ ราคา 3,xxx บาท/ปี ก็ไม่ได้แพงอะไรมาก ส่วนใหญ่แชร์โฮสในไทย จะอยู่ที่ราคา 1,000 – 2,000บาท

แต่คุณภาพที่ได้ต่างกันได้ชัด โดยเฉพาะในเรื่อง Speed ของโฮสติ้ง ไปจนถึงบริการหลังการขาย ระบบความปลอดภัย ง่ายๆ คือ เราจะได้ในสิ่งที่นอกเหนือจากสเปคที่เค้าเคลมไว้

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะโฮสติ้ง ถูก หรือ แพง ก็ต้องมามองที่วัตถุประสงค์หลักของเราครับ ขนาดของเว็บไซต์ งบประมาณที่มี ผลลัพธ์ที่ต้องการ ก็ลองพิจารณกันดูครับ

ท้ายที่สุด

หวังว่าคงจะเข้าใจในภาพรวมเรื่อง WordPress Hosting และ Web Hosting ทั่วไปต่างกันอย่างไร สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนที่จะเช่าซื้อโฮสติ้ง สำคัญมากสำหรับคนที่ยังใหม่กับเรื่องนี้ ลองไปประกอบการพิจารณาดูครับ

ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะโฮสติ้งประเภทไหน ราคาจะถูก จะแพง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน

About The Author