ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร? ในวันที่มูลค่า ตลาด e-Commerce ไทยโตต่อเนื่อง

ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร? ในวันที่มูลค่า ตลาด e-Commerce ไทยโตต่อเนื่อง

ปี 2019 ยอดผู้ใช้ Internet เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจาก 10 ที่ผ่านมา บวกกับตลาดสมาร์ทโฟนทั่วไปก็โตเอ๊าโตเอา ทำให้ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจ/บริการ ทำให้มีเพลตฟอร์ม E-commerce เกิดขึ้นเกลื่อนตลาด

ในอดีตเราอยากได้สินค้าสักชิ้น ต้องขับรถจากบ้าน เพื่อไปซื้อผ่านหน้าร้านค้าโดยตรง ไม่ว่าไกล้หรือไกลก็ต้องเสียเวลาเดินทางไป

ปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อ-ขายสินค้าเปลี่ยนไปจาก ออฟไลน์ ไปยังตลาดออนไลน์อย่าง E-commerce

อยากซื้อสินค้าสักชิ้น หยิบมือถือขึ้นมา แค่กดเข้าเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Lazada, Shopee, Alibaba etc… ก็มีสินค้าให้เลือกเป็นพันชิ้น พร้อมรีวิวประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อ ว่าสินค้าชิ้นนั้นดีหรือไม่ดี เทียบราคาได้เลย อยากได้ถูกหรือแพง ชำระเงินปลายทางและรอรับสินค้าหน้าบ้านได้เลย

จากการเปิดเผยของเว็บไซต์ ETDA  มูลค่า e-Commerce ไทยโตต่อเนื่อง ยอดปี 2561 พุ่งสูง 3.2 ล้านล้านบาท ที่สำคัญ ประเทศนี้แหละที่โตไวสุดในอาเซียน

จากสถิติข้างต้น เราเห็นได้ชัดเจนว่า โลกกำลังเปลี่ยนจาก ออฟไลน์ สู่โลกออนไลน์เต็มกำลัง ธุรกิจประเภทขายสินค้าและบริการที่ยังไม่คิดที่จะปรับตัวสู่ตลาดออนไลน์ บอกได้เลยว่ารอวันเจ็บตัวแน่นอนครับ

ในบทความนี้ผมจะมาแนะนำ วิธีปรับตัวของธุรกิจในปัจจุบัน ปรับตัวอย่างไร  ในวันที่มูลค่าตลาด e-Commerce ไทยโตต่อเนื่อง ผมจะแยกเป็น 3 ช่องทางหลัก

ช่องทาง 1 : ทำเว็บไซต์ E-commerce ของตัวเอง

ร้านค้าหรือธุรกิจ SME ในยุคปัจจุบัน ที่ยังอาศัยยอดขายจากหน้าร้านอย่างเดียว ขอเรียกว่า “ตลาดออฟไลน์” น่าจะต้องเริ่มทบทวนกันใหม่ได้แล้ว

การที่เพลตฟอร์ม E-commerce อย่าง Lazada, Shopee, Alibaba etc… มา Distrupt ตลาดในบ้านเรา ส่งผลกระทบต่อยอดขายของตลาดออฟไลน์ไม่มากก็น้อย บางธุรกิจจำเป็นต้องปิดตัวลง เนื่องจากยอดขายไม่ดี ซึ่งเดาไม่ยากว่า น่าจะเกิดจากการที่เราไม่เริ่มปรับตัว ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าในยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู

ร้านค้าหรือธุรกิจ SME ควรเริ่มคิดวางแผนที่จะมีเว็บไซต์ E-commerce ของตัวเอง ในอดีต การจะมีเว็บไซต์ E-commerce สักเว็บ อาจจะต้องใช้งบหลักแสน  แต่ในปัจจุบัน แค่หลักหมื่น ก็สามารถทำได้แล้ว ลองอ่านบทความ จ้างทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

การมีเว็บไซต์ E-commerce หรือเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง ก็เหมือนมีบ้านของตัวเอง เราจะทำอะไรก็ได้

เว็บไซต์เปรียบเสมือนบ้านของตัวเอง ที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เราจะทำอะไรกับบ้านเราก็ได้ หากเว็บไซต์ ช่วยทำยอดขายให้ธุรกิจเรา อย่างน้อยสัก 20%  ก็ยังดีกว่าที่ไม่ปรับตัวอะไรเลย อย่างน้อย เราเริ่มขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ไม่แน่ในอนาคต เว็บไซต์อาจจะเป็นตัวทำยอดขายเป็นหลักก็เป็นไปได้

ตัวเลือกและเครื่องมือในการทำเว็บไซต์ E-commerce

  • จ้างพัฒนาให้เราโดยเฉพาะ *อาจจะใช้งบประมาณหลักแสน
  • ใช้ระบบ CMS ในการพัฒนา ซึ่งมีหลายตัวให้เลือก
    • WordPress ( Woocommerce )
    • Magento
    • OpenCart
    • Prestashop

อยากทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง?

สำหรับใครที่มีงบน้อยถึงน้อยมาก แต่อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง  ไม่อยากจ้างทำเว็บไซต์แพงๆ ผมมีแนวทางให้ครับ สามารถทำเว็บไซต์ได้ด้วยตัวแบบฟรีๆ เลยก็ว่าได้

เปิดร้านค้าออนไลน์ ง่ายและฟรี ด้วย LnwSHOP  อ่านว่า เทพช็อป เป็นเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ สร้างร้านค้าสำหรับขายของออนไลน์ได้ฟรีๆ มีระบบจัดการหน้าร้านที่ใช้งานค่อนข้างง่าย สำหรับคนที่ไม่รู้ไอที

เปิดร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress ซึ่งเวิร์ดเพรสเอง จะมีทั้งแบบ WordPress.com กับ WordPress.org  จะมีปลั๊กอินเสริมชื่อว่า WooCommerce ช่วยให้เราสามารถสร้างร้านค้าออนไลน์ได้ไม่ยาก แต่อาจจะต้องไปศึกษานิดนึงว่า ระหว่าง .com กับ .org ต่างกันอย่างไร

จริงๆ ปัจจุบันมีเพลตฟอร์มที่ดีและฟรีเยอะ ทำให้เราสามารถทำเว็บไซต์ e-commerce ได้ด้วยตัวเองง่ายๆ

หากใครที่ทำธุรกิจอยู่ และยังไม่เห็นจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ เพราะยังขายของผ่านหน้าร้านได้อยู่ ลองอ่านบทความที่ผมเคยเขียน ว่าทำไมต้องทำเว็บไซต์?

ช่องทาง 2 : ใช้ Social Media เป็นช่องทางที่สอง

การขายของออนไลน์ บน Social Media หรือที่เค้าเรียกกันว่า Social Media Marketing ค่อนข้างต่างกับการขายบนเว็บไซต์ ถึงแม้เป็นเพลตฟอร์มที่มีคนใช้ทั่วโลก หลายพันล้านคน แต่ก็ใช่ว่าจะขายดีเสมอไป เราต้องสร้าง Content ให้น่าดึงดูด  รูปแบบในการนำเสนอสินค้าที่น่าสนใจ

การขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะบนเพลตฟอร์มใหน การที่เรามีสินค้าที่มีคุณภาพ หรือดีกว่าคู่แข่ง ก็ไม่ได้การันตีว่าจะขายดีเสมอไป หากคุณยังไม่รู้ว่า จะขายให้ใคร เมื่อไหร่ พื้นที่ใหน ซึ่งผมได้สรุป 5 เคล็ดลับที่เรียบง่าย ทำได้จริง สำหรับธุรกิจที่ต้องการลุยขายของออนไลน์บนช่องทาง Social Media

5 เคล็ดลับการตลาดบน Social Media ที่เรียบง่าย ทำได้จริง

1.รู้จักกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย ไม่ต่างอะไรกับเป้าหมายของธุรกิจ ถ้าระบุไม่ชัดเจน ธุรกิจอาจจะเซไปเซมาก็ได้ เช่น เราจะขาย “ร่มแฟชั่น” เราจะขายให้กับคนทุกกลุ่มอายุ มันก็ไม่เหมาะ อาจจะเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น ฉะนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าเราคือใคร เช่น อายุเท่าไหร่, เพศ, ความชอบ, การทำงาน, ฯลฯ

รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
รู้จักกลุ่มเป้าหมาย

หากเราบูสโพส หรือโปรโมทโพสบน Facebook เราจะเริ่มเห็นว่า โพสช่วงใหน Content รูปแบบใหน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  เราสามารถเอาข้อมูลจาก สถิติต่างๆ มาตั้งเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประหยัดงบในการโปมโมทมากขึ้น แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับ การทำ A/B Testing

2. สร้าง Content หลากหลายรูปแบบ

การที่เราโปรโมทโพสอย่างเดียว อัดงบเยอะๆ โดยไม่ได้คิดวิเคราะห์เลยว่า โพสแบบใหนที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเราที่สุด เพราะ Facebook ไม่ได้มีแค่ โพสแบบข้อความและรูป

โพสแบบรูปภาพ

เป็นโพสที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว  สามารถลงรูปและข้อความเขียนอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพได้ ซึ่งจะมีรูปแบบแบบภาพเดี่ยว และภาพสไลด์ คอลเลกชั่น สไลด์โชว์

โพสแบบรูปภาพ
โพสแบบรูปภาพ

หากเขียน Caption และทำภาพเจ๋งๆ สะดุดตา ก็อาจจะทำให้โพสเราประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

โพสแบบวิดีโอ

เป็นประเภทโพสที่ค่อนข้างมีผลอย่างมาก มี Engatement ค่อนข้างสูง หากเราทำวิดีโอที่ว้าวละก็ ช่วยให้เกิดการแชร์ หรือดูวิดีโอเราจนจบ ถึงขั้นปิดการขายก็เป็นไปได้

โพสประเภทอื่นๆ เช่น แบบสไลด์โชว์, แบบภาพสไลด์, แบบคอลเลกชั่น และอินสแตนท์ เอ็กซ์พีเรียนซ์

ลองดูครับว่า โพสแบบใหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ

3. Content is KING

หัวใจหลักของการตลาด ไม่ว่าจะทำการตลาดบน เว็บ E-commerce หรือ Social Media คงหนีไม่พ้น Content  ซึ่งการเขียนคอนเทนต์ ไม่ใช่ว่าเขียนยังไงก็ได้

เราต้องรู้กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเราก่อน พอทราบกลุ่มเป้าหมายแล้ว ต่อมาค่อยมาคิดว่า เราจะเสิร์ฟคอนเทนต์ลักษณะใหน ที่มีโอกาสสั่งซื้อสินค้าเรามากที่สุด

Facebook กับ Google มีอัลกอริทึมเหมือนกันตรงที่ ส่งเสริมให้ธุรกิจสร้าง Content ที่มีคุณภาพ ยิ่งเขียนได้ดี ยิ่งมีโอกาสถูกแสดงได้ก่อนใคร  หากใครที่มีความรู้เกี่ยวกับ SEO ด้วย จะยิ่งดีขึ้นไปอีก

จริงๆ เราต้องเข้าใจ Customer Journey ให้ดีก่อน ลองมาประยุกต์ใช้กับการเขียน Content รับรองว่าได้ผลแน่นอนครับ

4. สร้าง Content สร้างสม่ำเสมอ และ ตอบแชทให้เร็วที่สุด

กลุ่มเป้าหมายของเรา หรือลูกค้าที่ติดตามเรา ก็เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันกับเรา หากเราโพสนานๆ โผล่มาสักโพส ก็อาจจะเกิดความห่างเหินระหว่างเรากับลูกค้าได้

ควรโพสวันเดียวกันครั้ง และเวลาเดียวกัน ทำให้กลุ่มเป้าหมายของเรา รู้จังหวะเวลา ในการเข้ามาเยี่ยมเพจของเรา  แต่อย่าลืมยึดหลัก Content is KING ไว้ก่อน

หากมีลูกค้าทักเข้ามา สนใจในสินค้าและบริการของเรา ควรตอบแชทให้เร็วที่เท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้ลูกค้ารอนาน และเปลี่ยนใจ ไปใช้บริการคู่แข่ง ซึ่งไม่ดีแน่ๆ

5. รู้จักวิเคราะห์และวัดผล

Facebook มีผลลัพธ์จากการโพส หรือจากการโปรโมท เรียกว่า Facebook Insight  ซึ่งเป็น Data ที่ดีมากๆ สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอด ในด้านการตลาด ดูกระแสตอบรับจากลูกค้า หรือ Engagement ว่ามากน้อยแค่ใหน

ช่องทาง 3 : ขายสินค้าบน E-commerce Plateforms

E-commerce Plateforms หรือ เว็บไซต์ Marketplace เป็นตลาดกลางในโลกออนไลน์ ที่เป็นแหล่งรวมของบรรดาแม่ค้าแม่ขาย มาเทขายสินค้าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งที่ผู้ซื้อ กับขายที่จะขาย มารวมตัวกัน โดยมีระบบเพลตฟอร์มเป็นสื่อกลาง กำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆ เคมเปญส่วนลด โปรโมชั่น

ปัจจุบันก็มีเว็บไซต์ Marketplace รายใหญ่ชื่อดังหลายเว็บไซต์ เช่น Lazada, Shopee, เป็นต้น

ทำให้พ่อค้าแม่ค้ารายเล้กรายใหญ่ ก็สามารถเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ได้ง่ายๆ ผ่านระบบ Marketplace ไม่จำเป็นต้องโปรโมทร้านค้า เสียค่าโฆษณาแพงๆ  ตัดปัญหาเรื่องสถานที่ แถมยังเปิดบริการตลอด 24 ช.ม. 

แต่ภายใต้ความง่ายของระบบ ที่เปิดโอกาสให้ใครมาขายก็ได้ ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น สินค้าประเภทเดียวกัน เช่น ร่ม  อาจจะมีหลายร้านค้าที่ขายเหมือนกับเรา ทำให้เกิดการแข่งกันตัดราคา เพื่อให้ขายดีมากขึ้น กำไรน้อยลงก็เถอะ

แต่ยังไงซะ ในระยะยาว ผมแนะนำให้ทำเว็บไซต์ E-commerce ของตัวเองดีที่สุด เพราะการอาศัยระบบคนอื่น เราก็ต้องตามกฏเกณฑ์ของระบบ แต่ถ้ามีเว็บไซต์ของตัวเอง เราจะทำอะไรก็ได้

สรุป

แม้ว่าตลาด E-commerce โตอย่างต่อเนื่อง คู่แข่งเยอะ สวนทางกับตลาดออฟไลน์ แต่ก็ยังมีโอกาสที่ธุรกิจ จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หากลองทำตาม 1 ใน 3 ข้อที่ผมได้เขียนไป ผมเชื่อว่า สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดปลอดภัยแน่นอน และอยากให้จำคำนึงที่ผมย้ำบ่อยๆ และอาจจะเป็นปัจจัยหลัก ที่จะนำพาธุรกิจของคุณโตขึ้นอย่างก้าวกระโด คือ Content is KING  เขียนคอนเทนต์ที่มีคุณภาพซะ!

About The Author